Page 25 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 25

2-7





                  2.4  สภาพภูมิประเทศ


                        สภาพภูมิประเทศของจังหวัดลพบุรี อาจแบ่งได้เป็น 2 บริเวณ คือ บริเวณพื้นที่ราบสลับเนินเขา
                  และภูเขา ครอบคลุมพื้นที่ทางทิศตะวันออกของอ าเภอเมืองลพบุรีบางส่วนด้านตะวันออกเฉียงเหนือของ
                  อ าเภอบ้านหมี่ ด้านเหนือและด้านใต้ของอ าเภอโคกส าโรง พื้นที่เกือบทั้งหมดของอ าเภอสระโบสถ์
                  อ าเภอโคกเจริญ อ าเภอท่าหลวง อ าเภอชัยบาดาล และอ าเภอพัฒนานิคม คิดเป็นพื้นที่ประมาณ

                  ร้อยละ 70 ของพื้นที่ทั้งหมด และอีกบริเวณหนึ่งเป็นพื้นที่ราบลุ่มครอบคลุมพื้นที่อ าเภอท่าวุ้งอยู่ทางทิศ
                  ตะวันตกของอ าเภอเมืองลพบุรี บางส่วนของอ าเภอบ้านหมี่ และอ าเภอโคกส าโรง คิดเป็นพื้นที่ประมาณ
                  ร้อยละ 30 ของพื้นที่ทั้งหมด

                          2.4.1 ที่ราบน้ าท่วมถึง เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าใหญ่ในฤดูน้ าหลากแต่ละปีน้ า
                  จากแม่น้ าล าคลองจะไหลท่วมบริเวณนี้แล้วจะพัดพาเอาตะกอนมาทับถมกันทุกปี ท าให้เกิดมีสภาพ
                  เป็นที่ราบมีความลาดเทน้อยกว่าร้อยละ 1 พื้นที่กว้างใหญ่อยู่ในอ าเภอท่าวุ้ง อ าเภอบ้านหมี่ และอ าเภอ
                  เมืองลพบุรีพื้นที่บริเวณนี้จะสูงกว่าระดับน้ าทะเล 2-20 เมตร ส่วนการทับถมของตะกอนใหม่จากแม่

                  น้ าป่าสักจะท าให้เกิดเป็นที่ราบลุ่มเป็นแนวแคบ ๆ ตามความยาวของแม่น้ า ซึ่งไหลผ่านอาณาเขตอ าเภอ
                  ชัยบาดาล และอ าเภอพัฒนานิคม จากทิศเหนือลงทิศใต้ ที่ราบลุ่มบริเวณนี้จะมีความสูงจาก
                  ระดับน้ าทะเลประมาณ 25-60 เมตร บริเวณพื้นที่ราบลุ่มนี้ถูกใช้ประโยชน์ในการท านาส่วนใหญ่และได้ผลดี
                          2.4.2 ลานตะพักน้ ากลางเก่ากลางใหม่รวมทั้งเนินตะกอนรูปพัด ส่วนใหญ่พบเกิดอยู่ติดต่อ

                  กับที่ราบน้ าท่วมถึง ลักษณะสภาพส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบเรียบมีความลาดเทน้อยกว่าร้อยละ 1 พบเป็น
                  บริเวณกว้างในเขตอ าเภอบ้านหมี่ อ าเภอเมืองลพบุรี และอ าเภอโคกส าโรง โดยจะมีความสูงจาก
                  ระดับน้ าทะเลประมาณ 8-20 เมตร ส าหรับเนินตะกอนรูปพัดพบเกิดเป็นส่วนน้อย และมักอยู่บริเวณเชิง
                  เขา การใช้ประโยชน์ที่ดินบริเวณเหล่านี้ส่วนใหญ่ใช้ท านาซึ่งให้ผลผลิตอยู่ในเกณฑ์ดี

                          2.4.3 ลานตะพักน้ าเก่า เกิดจากการทับถมของตะกอนล าน้ าที่มาทับถมกันนานแล้วโดย
                  แบ่งเป็นลานตะพักน้ าระดับต่ าซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ 20-50 เมตร และลานตะพักน้ า
                  ระดับสูง ซึ่งอยู่สูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ 50-70 เมตร ลานตะพักน้ าระดับต่ าส่วนใหญ่พบอยู่ติดต่อ

                  กับลานตะพักน้ ากลางเก่ากลางใหม่ มีความลาดเทน้อยกว่าร้อยละ 1 และพบเป็นบริเวณเล็กน้อย ในเขต
                  อ าเภอโคกส าโรง และอ าเภอพัฒนานิคม ใช้ประโยชน์ในการท านาเป็นส่วนใหญ่ ให้ผลผลิตค่อนค้างต่ า
                  ส่วนลานตะพักน้ าระดับสูงมีพื้นที่ติดต่อและสูงขึ้นมาจากลานตะพักน้ าระดับต่ า สภาพพื้นที่เป็นลูกคลื่นใหญ่
                  มีความลาดเทร้อยละ 2-8 พบเป็นบริเวณเล็กน้อยในเขตอ าเภอโคกส าโรง และอ าเภอพัฒนานิคม
                  ใช้ประโยชน์ในการท าไร่

                          2.4.4 พื้นผิวที่ถูกกัดกร่อนและเนินเขา พื้นที่เป็นลูกคลื่นส่วนใหญ่มีความลาดเทประมาณ
                  ร้อยละ 2-16 สภาพภูมิประเทศแบบนี้จะพบเป็นบริเวณกว้างในเขตอ าเภอชัยบาดาล อ าเภอพัฒนานิคม
                  อ าเภอโคกส าโรง และทางด้านทิศตะวันออกของอ าเภอเมืองลพบุรี ส่วนใหญ่ที่ดินจะใช้ประโยชน์ใน

                  การปลูกพืชไร่
                          2.4.5 ภูเขา พื้นที่บริเวณนี้เกิดจากการโค้งตัวและการยุบตัวของผิวโลก ท าให้มีระดับความสูงต่ า
                  ต่างกันมากมีความลาดเทมากกว่าร้อยละ 16 และมีความสูงจากระดับน้ าทะเลประมาณ 100-750 เมตร
   20   21   22   23   24   25   26   27   28   29   30