Page 16 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดลพบุรี
P. 16

1-6





                        “ดิน” หมายถึงเทหวัตถุธรรมชาติ (Natural Body) ที่เกิดจากการสลายตัวของหินและแร่ธาตุต่าง ๆ ผสม

                  คลุกเคล้ากับอินทรียวัตถุ ซึ่งปกคลุมผผิวดินโลก อยู่เป็นชั้นบาง ๆ เป็นวัตถุค้ าจุนการเจริญเติบโตและการทรงตัว
                  ของพืช “ดิน” ประกอบด้วยแร่ธาตุที่เป็นของแข็ง อินทรียวัตถุ น้ า และอากาศ ที่มีสัดส่วนแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับ
                  ชนิดของดิน (กรมพัฒนาที่ดิน 2557)

                        1.6.3  การใช้ที่ดิน (Land Use)
                            “การใช้ที่ดิน” หมายถึงการจัดการที่ดินตามท มนุษย์ต้องการ ซึ่งรวมถึงการใช้ที่ดินในชนบท เขต

                  ชานเมือง และเขตอุตสาหกรรม เป็นต้น  (FA), 1993)
                            “การใช้ที่ดิน” หมายถึงผลของความพยายามของมนุษย์ในการด าเนินการเปลี่ยนแปลงลักษณะทาง
                  กายภาพพื้นที่ของทรัพยากรที่มีอยู่ เพื่อสนองความต้องการของตนเอง (Vink,1975)


                        1.6.4  การวางแผนการใช้ที่ดินและการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                            “การวางแผนการใช้ที่ดิน” หมายถึงการวิเคราะห์และประเมินข้อมูลทางกายภาพและทางเศรษฐกิจ
                  สังคมอย่างเป็นระบบ เพื่อก าหนดวิธีการหรือคาดการณ์การใช้พื้นที่ไว้ล่วงหน้า ส าหรับเป็นแนวทางการใช้
                  ประโยชน์ที่ดินและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ ตรงตามความต้องการของชุมชน สร้างความมั่นคงต่อชีวิต
                  เกษตรกร ความมั่นคงทางเศรษฐกิจ และความมั่นคงทางสังคมในการน าปสู่การพัฒนาพื้นที่อย่างยั่งยืน

                            “การวางแผนการใช้ที่ดิน” หมายถึงกระบวนการของการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหาการ
                  ใช้ประโยชน์จากทรัพยากร เป็นการก าหนดทิศทางของการลงทุน แนวทางของการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นการ
                  เปลี่ยนแปลงของหน่วงยงานต่าง ๆ ให้ด าเนินการอยู่ในภาพรวมเดียวกัน และเป็นการเพิ่มศักยภาพ ทั้งในปัจจุบัน
                                                                               1
                  และมในอนาคตเพื่อตอบสนองความต้องการจองมนุษย์ (NRC, 1975 และ ADB , 2012)
                            “การพัฒนาอย่างยั่งยืน” หมายถึงการพัฒนาที่มีดุลยภาพระหว่างมิติทางเศรษฐกิจ สังคม
                                                                                   2
                  ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อความอยู่ดีมีสุขของประชาชนตลอดไป (สศช.  2546)

                        1.6.5  กระบวนการวิเคราะห์ DPSIR

                                  3
                            DPSIR  เป็นเครื่องมือที่หน่วยงานด้านสิ่งแวดล้อมแห่งสหภาพยุโรป (European Environment
                  Agency: EEA) ได้ท าการพัฒนาเพื่อวางระบบการจัดเก็บ รวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ และจัดท ารายงานที่เกี่ยวข้อง

                  กับสิ่งแวดล้อม กรอบ DPSIR อธิบายวิวัฒนาการสังคมมนุษย์ที่มีการปรับปรุงแก้ไขรูปแบบการผลิตและการบริโภค
                  เพื่อการด ารงอยู่ (Survival) โดยมีจุดเริ่มต้นจากปัจจัยที่เป็นพลังขับเคลื่อน (Driving Force) ซึ่งมีปฏิสัมพันธ์กับ
                  สิ่งแวดล้อมทั้งที่ลงตัวและไม่ลงตัว ส่งผลให้เกิดแรงกดดัน (Pressure) ต่อดุลยภาพของสิ่งแวดล้อม ผลที่ตามมาคือ
                  สภาวะ (State) ของสิ่งแวดล้อมเปลี่ยนไป และเมื่อเกินกว่าที่องค์ประกอบของสิ่งแวดล้อมและระบบนิเวศจะรองรับ
                  ได้ ผลกระทบ (Impact) ที่เป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ก็จะปรากฏออกมา สังคมมนุษย์จึงต้องคิดค้นเครื่องมือที่



                  1  ADB (Asian Development Bank): ธนาคารพัฒนาเอเชีย
                  2  สศช. คือ ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
                  3  DPSIR: Driver-Pressure-State-Impact-Response Framework
   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20   21