Page 119 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดระนอง
P. 119

5-17





                  5.2  มาตรการพัฒนาพื้นที่จังหวัดระนอง


                        การด าเนินการจัดการหรือพัฒนาพื้นที่จังหวัดระนอง ต้องมีการบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ
                  ครอบคลุมทุกมิติทั้งทางด้านทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม ซึ่งจ าเป็นต้องมี
                  มาตรการด าเนินงานด้านต่างๆ รองรับเพื่อให้สามารถขับเคลื่อนการพัฒนาพื้นที่จังหวัด ไปสู่การปฏิบัติ
                  อย่างเป็นรูปธรรมสอดคล้องกับแผนการใช้ที่ดินที่ก าหนดขึ้น ดังนี้


                        1. มาตรการด้านการบริหารจัดการ
                          1.1  สร้างกระบวนการการประสานงาน และการท างานอย่างบูรณาการร่วมกัน ระหว่าง
                  หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่น ตลอดจนภาคเอกชนให้
                  เอื้อประโยชน์ต่อชุมชนท้องถิ่น

                          1.2  จัดกิจกรรมเสริมกระบวนการเรียนรู้ ศึกษาดูงาน เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง
                  และถ่ายทอดสู่ชุมชนในเรื่องการอนุรักษ์ ฟื้นฟูทรัพยากรดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
                          1.3  จัดท าฐานข้อมูลของทรัพยากรธรรมชาติในระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ เพื่อใช้ในการ

                  จัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ และเป็นเครื่องมือในการติดตาม ตรวจสอบการบุกรุก
                          1.4   เสริมสร้างความเข้มแข็งภาคประชาชน องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชนใน
                  การจัดการการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพครบวงจร เสริมสร้างให้องค์กรต่างๆ และกลุ่มผู้ให้บริการมีบทบาท และ
                  ศักยภาพในการบริหารจัดการ

                        2. มาตรการด้านทรัพยากรป่าไม้

                          ทรัพยากรป่าไม้ เป็นทรัพยากรที่ส าคัญของจังหวัดระนอง เป็นแหล่งต้นน้ า ล าธาร ซึ่งจ าเป็นต้อง
                  มีมาตรการในการบริหารจัดการตลอดจนควบคุมการใช้ที่ดินในพื้นที่ป่าไม้ให้ถูกต้องเหมาะสม เพื่อลด
                  ปัญหาการเสื่อมโทรมของทรัพยากรป่าไม้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อพื้นที่กลางน้ าและปลายน้ า ดังนี้
                          2.1  สงวนรักษาพื้นที่ป่าอนุรักษ์ไม่ให้ถูกบุกรุกท าลาย โดยการก าหนดแนวเขตป่าอนุรักษ์

                  และพื้นที่ท ากินของประชาชนให้ชัดเจนโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน
                          2.2  ใช้มาตรการด้านกฎหมายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งระหว่างรัฐกับประชาชน
                  ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่ถูกบุกรุกโดยด าเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 30 มิถุนายน 2541 เรื่องมาตรการ
                  และแนวทางแก้ไขที่ดินในพื้นที่ป่าไม้อย่างเคร่งครัด

                          2.3   เร่งรัดการฟื้นฟูสภาพป่าไม้ที่เสื่อมโทรมด้วยวิธีธรรมชาติ และปลูกป่าทดแทน โดยเฉพาะ
                  อย่างยิ่งในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้คืนสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ โดยด าเนินการร่วมกับชุมชนในท้องถิ่น
                          2.4   ส่งเสริม และพัฒนาชุมชนโดยรอบพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้เป็นชุมชนเชิงนิเวศเพื่อส่งเสริมให้มี
                  วิถีชีวิตที่สามารถอยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างกลมกลืน และพึ่งตนเองได้

                        2.5  สนับสนุนประชาชน และภาคีเครือข่ายในการเฝ้าระวังการบุกรุกเข้าใช้ประโยชน์ในพื้นที่
                  อนุรักษ์โดยการสร้างแรงจูงใจเพื่อการรักษาวิถีชีวิตเชิงอนุรักษ์ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้จากการ
                  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และรักษาความหลากหลายทางชีวภาพของระบบนิเวศป่าไม้

                          2.6  ส่งเสริมการท่องเที่ยวป่าเชิงอนุรักษ์ โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ
                  แหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์
   114   115   116   117   118   119   120   121   122   123   124