Page 35 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 35

2-23





                  ไปทางตะวันออกเล็กน้อย จากนั้นจึงวกลงมาทางใต้ที่ราบหุบเขานครไทยทาง เหนือ แม่น้ าแควน้อย

                  จะไหลลงมาทางใต้เรื่อยๆ ก่อนถึงที่ตั้งอ าเภอนครไทยจะค่อยๆโค้งไปทางตะวันตก ผ่านไปทางใต้ของ
                  ที่ตั้งอ าเภอ เมื่อผ่านไปทางตะวันตกของที่ตั้งอ าเภอนครไทยแล้ว จะค่อยๆ วกขึ้นไปทางตะวันตกเฉียง
                  เหนือไป บรรจบกับล าน้ าภาค แม่น้ าแควน้อยช่วงที่ไหลผ่านที่ราบหุบเขานครไทยจึงมีรูปร่างเป็นแบบ

                  อักษร และในช่วงนี้จะมีล าห้วยต่างๆ ซึ่งมีต้นก าเนิดจากภูเขาและที่สูงที่ล้อมรอบอ าเภอนครไทย ไหลมา
                  บรรจบกับแม่น้ าแควน้อยหลายสาย เช่น น้ าเฟื้อ ห้วยออกสิงห์ ล าน้ าคาน ห้วยน้ าคูบ ฯลฯ เป็นต้น
                  สาขาที่ส าคัญของแม่น้ าแควน้อยสายหนึ่ง คือ ล าน้ าภาค มีต้นก าเนิดจากภูเขาสูง บริเวณที่เป็นจงอยปาก
                  ของนกแก้วของจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขา เพชรบูรณ์
                  ทางเหนือของกลุ่มภูเขาเป็นต้นแม่น้ าแควน้อยเล็กน้อย ต้นน้ าภาคจะเกิดจากภูเขาสูงทางเหนือสุดของ

                  จังหวัดพิษณุโลกต่อกับเขตภูเขาสูงของจังหวัดอุตรดิตถ์ ได้แก่ ภูสอยดาว ภูเมี่ยง ภูกวาง ฯลฯ ล าน้ าภาค
                  จะไหล ลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ผ่านหุบเขายาวเหยียดจนเข้าสู่เขตที่ราบทางด้านตะวันออกของ
                  ที่ราบหุบเขาชาติตระการ แล้วจึงวกกลับมาทางใต้บรรจบกับแม่น้ าแควน้อย เมื่อแม่น้ าแควน้อยบรรจบ

                  กับล าน้ าภาคแล้วจึงไหลวกมาทางใต้เล็กน้อย  แล้วตัดบริเวณภูเขาและที่สูงตอนกลางของจังหวัด
                  พิษณุโลก ไปในแนวตะวันตก-ตะวันออก (ผ่านทิวเขากระยาง เขาลานมะเขือ และเขาช่องลม) จากนั้น
                  วกขึ้นไปทางตะวันตกเฉียงเหนือผ่านที่ราบหุบเขา ระหว่างเขาช่องลม  เขาอุโมงค์ทางตะวันออกและเขา
                  ชันโค้ง เขานามากทางตะวันตก เมื่อไหลขึ้นไปทางเหนือของ เขาชันโค้งแล้ว จึงวกกลับมาทางทิศ

                  ตะวันตกเฉียงใต้ เข้าเขตที่ราบลุ่มแม่น้ าน่าน ในช่วงที่ไหลเข้าเขตที่ราบนี้ จะอยู่ ในเขตอ าเภอวัดโบสถ์
                  ผ่านเข้าอ าเภอพรหมพิราม และอ าเภอเมืองพิษณุโลก บรรจบกับแม่น้ าน่านในบริเวณบ้าน แสงดาวใน
                  เขตอ าเภอเมืองพิษณุโลก รวมความยาวแม่น้ าแควน้อยประมาณ 185 กิโลเมตร ก่อนที่แม่น้ าแควน้อย
                  จะบรรจบกับแม่น้ าน่าน มีคลองใหญ่ๆ 2 สายมาไหลบรรจบกับแม่น้ าแควน้อย คือ คลองโป่งนก

                  ไหลจากทาง เหนือของอ าเภอพรหมพิราม ขนานลงมาตามล าน้ าน่านและบรรจบกับแม่น้ าแควน้อยใน
                  บริเวณบ้านกระบัง ห่างไปทางตะวันตกของสะพานแควน้อยเล็กน้อย ส่วนอีกคลองหนึ่ง คือ คลองหางกา
                  อยู่ทางตอนใต้ของแม่น้ าแควน้อย มีต้นก าเนิดจากเขาไร่ ทางตะวันออกของอ าเภอเมืองพิษณุโลกไหล
                  ขนานมากับแม่น้ าแควน้อย เมื่อรวมกับ คลองสระโคล่และคลองห้วยแก้วเป็นคลองยางไหลวกขึ้นไปทาง

                  เหนือ บรรจบกับแม่น้ าแควน้อยที่บริเวณบ้านวังแร่
                               4) แม่น้ าวังทอง มีต้นก าเนิดมาจากภูเขาสูงทางด้านตะวันออกเฉียงใต้ของจังหวัด
                  พิษณุโลก อยู่ในกลุ่มทิวเขาเพชรบูรณ์ ได้แก่ เขาพลูหิน เขาสามหมื่น ต้นน้ าบริเวณนี้มีล าห้วยส าคัญ

                  2 สาย เรียกว่า คลองเข็กน้อยกับคลองเข็กใหญ่ ล าห้วยทั้งสองสายนี้ใช้เป็นแนวแบ่งเขตจังหวัดพิษณุโลก
                  ด้านอ าเภอนครไทยและ อ าเภอวังทองกับเขตอ าเภอหล่มสักจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อคลองเข็กน้อยกับ
                  คลองเข็กใหญ่ไหลมารวมกันแล้ว จึงไหลขึ้นไปทางเหนือเล็กน้อยแล้วค่อยๆวกไปทางตะวันตก  เลียบไป
                  ตามแถวทางใต้ของถนนพิษณุโลก-หล่มสัก ผ่านทางใต้ของบ้านแยง บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ และค่ายสฤษดิ์
                  เสนา ในช่วงนี้ชื่อแม่น้ ายังคงเรียกว่า แม่น้ าเข็ก (คนละสายกับแม่น้ าเข็กที่ไหลผ่านอ าเภอเมืองจังหวัด

                  เพชรบูรณ์ แต่มีต้นก าเนิดบริเวณเดียวกัน) แม่น้ าสายนี้ยังคง ไหลเลียบมาตามแนวถนนพิษณุโลก-
                  หล่มสัก โดยตลอด จนถึงที่ตั้งอ าเภอวังทอง จึงวกกลับไปทางทิศใต้ ในช่วงนี้ เรียกว่าแม่น้ าวังทอง จนถึง
                  บ้านวังหญ้านางแม่น้ าวังทองจะไหลวกไปทางตะวันตก เมื่อถึงบ้านวังพิกุล บ้านวังส าโรง จึงวกลงใต้

                  ในช่วงที่วกลงใต้นี้ แม่น้ าวังทองไหลผ่านที่ราบลุ่มมาก ล าน้ าจึงคดเคี้ยวแยกสาขาออกไปเป็นคลองต่างๆ
   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39   40