Page 34 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 34

2-22





                      2. ทรัพยากรน้ า


                              จังหวัดพิษณุโลกมีแหล่งน้ าผิวดินประกอบด้วย 2 ลุ่มน้ าด้วยกัน คือ ลุ่มน้ ายมและ
                  ลุ่มน้ าน่าน โดยมีหนอง บึง และ คลองสายหลักๆ มากมายที่เกิดขึ้นกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป รวมทั้ง
                  แม่น้ าสายหลัก ไหลลงสู่ลุ่มแม่น้ าทั้งสอง ซึ่งลักษณะที่ส าคัญของแม่น้ าต่างๆ มีดังนี้
                               1) แม่น้ ายม มีต้นก าเนิดจากที่สูงตอนเหนือของประเทศไทยในบริเวณภูเขาผีปันน้ าแล้ว
                  ไหลลง มาทางใต้ผ่านจังหวัดต่างๆ เช่น จังหวัดแพร่ สุโขทัย และไหลผ่านเข้าเขตที่ราบด้านตะวันตกของ

                  จังหวัดพิษณุโลก ทางตอนเหนือของอ าเภอบางระก า จุดที่เริ่มเข้าเขตจังหวัดพิษณุโลกอยู่ทาง
                  ด้านตะวันตกบ้านวังท่าช้าง แม่น้ ายม จะไหลคดเคี้ยวเป็นรูปซิกแซ็กและไหลออกจากเขตจังหวัด
                  พิษณุโลกทางตะวันออกเฉียงใต้ของอ าเภอบางระก าแล้ว ไหลเข้าเขตจังหวัดพิจิตรต่อไป จุดที่แม่น้ ายม

                  ไหลออกจากเขตจังหวัดพิษณุโลกอยู่ในบริเวณบ้านบุ่งสะพัง แม่น้ ายมที่ ไหลผ่านที่ราบทางด้านตะวันตก
                  ของจังหวัดพิษณุโลก  มีคลองยาวๆไหลลงสู่แม่น้ ายมหลายสายทั้งฝั่งตะวันตกและฝั่งตะวันออก
                  เช่น คลองวังแร่ คลองบางแก้ว ฯลฯ ทางฝั่งตะวันออกและคลองหนองขาม คลองอ้ายเหม็น คลองไร่
                  ฯลฯ  ทางฝั่งตะวันตก ในช่วงที่แม่น้ ายมไหลใกล้จะผ่านเขตจังหวัดพิษณุโลกเข้าเขตจังหวัดพิจิตรนั้น

                  แม่น้ ายมจะไหล วกเข้ามาใกล้แม่น้ าน่านมากที่สุด โดยห่างกันเป็นระยะทางตรงประมาณ 2-3 กิโลเมตร
                  เท่านั้น
                               2) แม่น้ าน่าน มีต้นก าเนิดมาจากที่สูงและภูเขาทางตอนเหนือของประเทศไทย
                  เช่นเดียวกับ แม่น้ ายม แต่เป็นกลุ่มเขาที่สูงและภูเขาที่อยู่ทางด้านตะวันออกของต้นแม่น้ ายม คือ บริเวณ

                  ภูเขาผีปันน้ า ทิวเขาหลวงพระบาง และทิวเขาเพชรบูรณ์ แล้วไหลลงมาทางใต้ ผ่านจังหวัดต่างๆ ทาง
                  เหนือของจังหวัดพิษณุโลก เช่นจังหวัดน่าน อุตรดิตถ์ และเข้าเขตจังหวัดพิษณุโลกทางตอนเหนือของ
                  อ าเภอพรหมพิราม เหนือบ้านโคกเทียม เล็กน้อย แม่น้ าน่านจะไหลคดเคี้ยวเป็นรูปซิกแซ็กผ่านกลางเขต
                  ที่ราบลุ่มของจังหวัดพิษณุโลกลงมาในแนวเหนือใต้ จนกระทั่งสุดเขตจังหวัดพิษณุโลกที่ทางใต้ของอ าเภอ

                  บางกระทุ่มในบริเวณบ้านสนามคลี-บ้านวัดหงษ์ วัดความยาว ของแม่น้ าน่านที่ไหลผ่านจังหวัดพิษณุโลก
                  จากเหนือลงมาใต้ตามล าน้ ายาวประมาณ 127.5 กิโลเมตร  แม่น้ าน่านช่วงที่ไหลผ่านเขตที่ราบลุ่มแม่น้ า
                  ของจังหวัดพิษณุโลกนี้ มีล าคลองต่างๆหลาย สายที่ไหลลงสู่แม่น้ าน่าน  แม่น้ าที่ไหลลงฝั่งตะวันออกของ

                  แม่น้ าน่านมี 2 สาย คือ แม่น้ าแควน้อยและแม่น้ าวังทอง ซึ่งจะกล่าวถึงต่อไป ส่วนคลองที่ไหลลงสู่แม่น้ า
                  น่านก็มีหลายคลอง บางคลองที่ไหลไปบรรจบกับแม่น้ าแควน้อยและ แม่น้ าวังทองก่อน แล้วจึงแยกสาขา
                  ออกไปบรรจบกับแม่น้ าน่านหลายสาย เช่น คลองหนองตม คลองโป่งนก คลองหางกา คลองแม่เทียบ
                  คลองบางกระทุ่ม คลองแม่ระกา ฯลฯ คลองเหล่านี้อยู่ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ าน่าน ส่วนทางฝั่ง
                  ตะวันตกเป็นคลองสายสั้นๆ เท่านั้น  และส่วนใหญ่ก็มีน้ าไม่ตลอดปี

                               3) แม่น้ าแควน้อย มีต้นก าเนิดมาจากภูเขาสูงทางด้านตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัด
                  พิษณุโลก เป็นกลุ่มภูเขาในทิวเขาหลวงพระบางและทิวเขาเพชรบูรณ์ ภูเขาสูงที่เป็นต้นน้ า ได้แก่
                  ภูไก่ห้อย ภูขัด ไหลลงมาในแนวทิศตะวันตกเฉียงใต้ ผ่านที่ราบหุบเขาแควน้อย ซึ่งเป็นหุบเขาแคบๆ

                  ทางตอนเหนือของอ าเภอนครไทย ทางตอนใต้ของหุบเขานี้จะมีห้วยพริกขิง ซึ่งมีต้นก าเนิดจากเขาลม
                  น้อยและกลุ่มภูเขาทางตอนใต้ของภูขัด ห้วยพริกขิงไหลขึ้นไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ เมื่อล าน้ าแคว
                  น้อยไหลมารวมกับห้วยพริกขิงที่บริเวณหมู่บ้านเนินขุมดันทางตอนใต้ของหุบเขาแควน้อยแล้ว ก็จะไหล
                  ตัดผ่านที่สูงระหว่างภูขัดกับที่สูงที่เป็นต้นก าเนิดของห้วยพริกขิง (เขาหญ้าปก เขาริน เขานกโล้น ฯลฯ)
   29   30   31   32   33   34   35   36   37   38   39