Page 32 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพิษณุโลก
P. 32

2-20





                  หรือวันแห้งสะสมกันเกินกว่า 90 วันในรอบปี มีฝนตกน้อยและตกกระจายไม่สม่ าเสมอ พบตั้งแต่บริเวณที่เป็น

                  สันดินริมน้ าตะพักล าน้ า ลานตะพัก เชิงเขา เนินเขาหรือบริเวณพื้นที่เหลือค้างจากการกัดกร่อน เกิดจาก
                  วัตถุต้นก าเนิดพวกตะกอนน้ าพา การผุพังสลายตัวอยู่กับที่ และ/หรือเคลื่อนย้ายมาเป็นระยะทางไม่ไกลนัก
                  ของหินชนิดต่างๆ มีสภาพพื้นที่เป็นราบเรียบถึงเนินเขา ดินมีการระบายน้ าดีปานกลางถึงดี มีสีแดง สีแดง

                  ปนเหลือง สีน้ าตาล สีน้ าตาลปนแดง สีน้ าตาลปนเหลือง อาจพบจุดประสีน้ าตาลเข้ม สีน้ าตาล สีแดงปน
                  เหลืองเล็กน้อย หรือพบชั้นลูกรัง ก้อนกรวด เศษหิน ชั้นหินพื้นและชั้นหินพื้นผุ ปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัด
                  มากถึงเป็นกลาง ความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ าถึงปานกลาง โดยจ าแนกตามเนื้อดินอย่างกว้างๆ
                  ได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
                            1) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินเหนียว มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทราย

                  แป้ง ดินร่วนปนดินเหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายแป้งหรือดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินเหนียวปน
                  ทรายแป้งหรือดินเหนียว ได้แก่ ชุดดินโชคชัย (Ci) ชุดดินจัตุรัส (Ct) ชุดดินกลางดง (Kld) ชุดดินสูงเนิน
                  (Sn) และชุดดินวังไห (Wi)

                            2) กลุ่มเนื้อดินที่เป็นดินร่วน มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน ดินร่วนปนทราย
                  แป้ง หรือดินร่วนปนดินเหนียว ส่วนดินล่างเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วนปนทรายแป้ง ดินร่วนปนดิน
                  เหนียว ดินร่วนเหนียวปนทรายหรือดินร่วนเหนียวปนทรายแป้ง ได้แก่ ชุดดินชุมพลบุรี (Chp) ชุดดิน
                  จักราช (Ckr) ชุดดินเชียงใหม่ (Cm) ชุดดินชุมพวง (Cpg) ชุดดินดงยางเอน (Don) ชุดดินดอนไร่ (Dr) ชุดดิน

                  ด่านซ้าย (Ds) ชุดดินเขมราฐ (Kmr) ชุดดินก าแพงเพชร (Kp) ชุดดินพิชัย (Pch)  ชุดดินโพนงาม (Png)
                  ชุดดินปักธงชัย (Ptc) ชุดดินภูพาน (Pu) ชุดดินภูเรือ (Pur) ชุดดินไทรงาม (Sg) ชุดดินสันป่าตอง (Sp)
                  ชุดดินสตึก (Suk) ชุดดินตะพานหิน (Tph) และดินตะกอนน้ าพาเชิงซ้อน (AC) ที่มีการระบายน้ าดี
                  ปานกลาง

                            3) กลุ่มดินตื้นและที่ดินหินพื้นโผล่ มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน ดินร่วน
                  ปนดินเหนียวหรือดินร่วนเหนียวปนทราย มีลูกรัง ก้อนกรวดหรือเศษหินปะปนอยู่มากกว่าร้อยละ 35
                  หรือพบชั้นหินพื้น ภายในความลึก 50 เซนติเมตรจากผิวดิน ได้แก่ ชุดดินชนแดน (Cdn) ชุดดินแก่งคอย
                  (Kak) ชุดดินมวกเหล็ก (Ml) ชุดดินไพศาลี (Phi) ชุดดินวังน้ าเขียว (Wk) รวมถึงพื้นที่ที่ปะปนอยู่กับดินตื้น

                  และที่ดินหินพื้นโผล่
                        1.3  พื้นที่ลาดชันเชิงซ้อน ได้แก่ บริเวณที่เป็นเทือกเขา หรือภูเขาที่มีลักษณะความสูงชัน
                  สลับซับซ้อนมาก และโดยเฉลี่ยความลาดชันของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะมากกว่า 35 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป

                        1.4  พื้นที่เบ็ดเตล็ด ได้แก่ พื้นที่อยู่อาศัย พื้นที่น้ า ที่ลุ่มชื้นแฉะและผาชัน
   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36   37