Page 81 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 81

4-7





                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 พัฒนาระบบและสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าภาคเกษตร ประมง และ

                  ปศุสัตว์ ที่มีศักยภาพในพื้นที่ เพื่อให้ชุมชนเกิดความเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ซึ่งมีกลยุทธ์หลัก ได้แก่

                  1) พัฒนาประสิทธิภาพทางการเกษตร (พืช ประมง และปศุสัตว์) เพื่อเพิ่มผลผลิตและลดต้นทุนการผลิต

                  และสร้างฐานรายได้ให้กับเกษตรกร โดยส่งเสริมการน าผลการศึกษาวิจัยเพื่อพัฒนาและคัดเลือกสาย

                  พันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่ และพัฒนากระบวนการเพาะปลูกหรือเก็บเกี่ยวอย่างถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้
                  ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น น้อมน าปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและทฤษฎีใหม่ไปประยุกต์ใช้ในภาค

                  การเกษตร เพื่อสร้างความเข้มแข็งของสถาบันการเกษตรกร และสร้างความมั่นคงในอาชีพและรายได้

                  ให้แก่เกษตรกร 2) พัฒนาอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่าสูง โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์

                  ใหม่ที่เหมาะสมกับผลิตผลในพื้นที่ 3) ส่งเสริมศักยภาพด้านการตลาด โดยพัฒนาองค์ความรู้ในการ

                  วิเคราะห์ ประเมินสถานการณ์ด้านการตลาดทางการเกษตร พัฒนาระบบและบริหารจัดการเครือข่าย

                  เพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายและสถาบันเกษตรกรในกลุ่มจังหวัด ส่งเสริมและสนับสนุนสถาบันเกษตรกรให้มี

                  ขีดความสามารถในการด าเนินธุรกิจและช่วยเหลือสมาชิกในด้านการผลิตและการตลาด และ 4) ส่งเสริม
                  ศักยภาพ การรวมกลุ่มและเครือข่ายสนับสนุนเกษตรอินทรีย์ เกษตรปลอดสารพิษของเกษตรกร และ

                  ผู้ประกอบการเพื่อสร้างความเข้มแข็ง โดยส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกรในรูปแบบสหกรณ์

                  วิสาหกิจชุมชนหรือรูปแบบบริษัทประชารัฐ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มทุน สร้างเกษตรกรรุ่นใหม่

                  ที่มีความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติ เพื่อไปประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเป็นแบบอย่างที่ดีแก่

                  เกษตรกรรายอื่น เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเกษตรที่ยั่งยืน


                        9. แผนพัฒนาจังหวัดพังงา 5 ปี พ.ศ. 2561–2565 มีประเด็นยุทธศาสตร์และแนวทางการพัฒนาที่
                  เกี่ยวข้อง ดังนี้

                          ประเด็นยุทธศาสตร์ที่ 2 สร้างเสริมระบบการผลิต แปรรูป การบริโภค การค้า การบริหารจัดการ

                  ด้านการเกษตรอย่างเป็นระบบและยั่งยืน ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลักในการพัฒนา ได้แก่ 1) ผลิตสินค้า

                  เกษตรให้มีความปลอดภัยและได้มาตรฐานเพื่อการส่งออก 2) ส่งเสริมการแปรรูปสินค้าเกษตรให้ได้มาตรฐาน

                  โดยใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสม 3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและอนุรักษ์ฟื้นฟูทรัพยากรการเกษตรอย่าง
                  เหมาะสม 4) ส่งเสริมผลผลิตทางการเกษตรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง 5) พัฒนากลไกการกระจายสินค้า

                  เกษตรสู่ตลาดอย่างเหมาะสม การบรรจุภัณฑ์ การเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตร โดยการเชื่อมโยงตลาดทั้งภายในและ

                  ภายนอกประเทศ 6) ส่งเสริมพัฒนาองค์ความรู้ในการจัดการการผลิตที่มีประสิทธิภาพและได้คุณภาพพัฒนา

                  กลุ่ม/ สถาบันเกษตรกรสหกรณ์ให้เข้มแข็งรองรับการผลิตสินค้าเกษตรปลอดภัยได้มาตรฐาน และ 7) ส่งเสริม

                  การวิจัยและพัฒนา
   76   77   78   79   80   81   82   83   84   85   86