Page 76 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 76

4-2





                           ยุทธศาสตร์ที่ 5 ด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

                           ยุทธศาสตร์ย่อยที่ 5.2  วางระบบบริหารจัดการน้ าอย่างบูรณาการให้มีประสิทธิภาพใน

                  25 ลุ่มน้ า ทั้งด้านอุปสงค์และอุปทาน เน้นการปรับระบบการบริหารจัดการอุทกภัยอย่างบูรณาการ ให้
                  มีแหล่งกักเก็บน้ าต้นทุนและแหล่งชะลอน้ าที่เพียงพอ เพิ่มขีดความสามารถในการเก็บกักน้ า และเพิ่ม

                  ประสิทธิภาพการระบายน้ า และการผันน้ า โดยขุดลอกร่องน้ าและแหล่งน้ าเพื่อแก้ปัญหาอุทกภัย

                  ภัยแล้ง ควบคู่กับกับแผนงานก าหนดพื้นที่รับน้ านอง และการพัฒนาคลังข้อมูล ระบบพยากรณ์และการ
                  เตือนภัย และแผนงานเผชิญเหตุเฉพาะพื้นที่ ตลอดจนการปรับปรุงองค์กรและกฎหมาย รวมทั้งการสร้าง

                  การมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการน้ า

                        4. แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) มียุทธศาสตร์และ

                  แนวทางการพัฒนาที่เกี่ยวข้อง ดังนี้

                          ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจและแข่งขันได้อย่างยั่งยืน แนวทาง

                  พัฒนาที่ 3.2 การเสริมสร้างและพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการ ซึ่งมี

                  แนวทางการพัฒนาหลักที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การพัฒนาภาคการเกษตร ด้วยการ 1) เสริมสร้างฐานการผลิต
                  ภาคเกษตรให้เข้มแข็งและยั่งยืน โดยพัฒนาและบ ารุงรักษาแหล่งน้ าเพื่อการเกษตรรวมทั้งจัดระบบการ

                  ปลูกพืชให้สอดคล้องปริมาณน้ าที่หาได้ และคุ้มครองพื้นที่เกษตรกรรมที่มีศักยภาพและขยายโอกาสใน

                  การเข้าถึงพื้นที่ท ากินของเกษตรกรให้มากขึ้น 2) สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ทางวิชาการ วิทยาศาสตร์

                  เทคโนโลยี และนวัตกรรม และภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการเกษตรแบบมีส่วนร่วม โดยให้ความส าคัญกับ

                  การพัฒนารูปแบบและกระบวนการถ่ายทอดความรู้เพื่อปรับระบบการผลิตที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่

                  และการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศให้แก่เกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การจัดท าแปลง
                  ต้นแบบผ่านศูนย์เรียนรู้และศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีในแต่ละพื้นที่ 3) เสริมสร้างขีดความสามารถการ

                  ผลิตในห่วงโซ่อุตสาหกรรมเกษตร โดย ส่งเสริมให้เกษตรกรผลิตพืช ปศุสัตว์ และการท าประมงให้

                  สอดคล้องกับศักยภาพพื้นที่และความต้องการของตลาด (Zoning) 4) ส่งเสริมและเร่งขยายผลแนวคิด

                  การท าการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมให้เกษตรกรมีส่วนร่วม

                  ในการก าหนดนโยบายการเกษตร รวมไปถึงการส่งเสริมขยายผลและพัฒนาการผลิตในระบบ

                  เกษตรกรรมยั่งยืน ทั้งในรูปแบบเกษตรทฤษฏีใหม่ เกษตรผสมผสาน วนเกษตร เกษตรอินทรีย์ เกษตร
                  ธรรมชาติ ควบคุมการใช้สารเคมีการเกษตรที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมอย่างเคร่งครัด และ

                  5) พัฒนาปัจจัยสนับสนุนในการบริหารจัดการภาคเกษตรและสนับสนุนเกษตรกรรุ่นใหม่ โดยการพัฒนา

                  ฐานข้อมูลด้านอุปสงค์และอุปทานด้านการเกษตร สร้างบุคลากรด้านการเกษตร ด้วยการผลิตเกษตรกร

                  รุ่นใหม่หรือด าเนินนโยบายบัณฑิตคืนถิ่น การจัดท าหลักสูตรการศึกษาที่เน้นการเรียนรู้จากภาคปฏิบัติ
   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81