Page 77 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 77

4-3





                  เพื่อสร้างเกษตรกรที่มีความรู้และมีความสามารถในการยกระดับการผลิต แปรรูปการตลาดและการ

                  บริหารจัดการที่สามารถปรับตัวได้ทันตามการเปลี่ยนแปลงของโลก และการปรับปรุงกฎหมายที่

                  เกี่ยวข้องกับการเกษตรให้ทันสมัย

                           ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการเติบโตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

                  แนวทางพัฒนาที่ 3.4 การส่งเสริมการผลิตและการบริโภคที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยเน้นการบริหาร
                  จัดการทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน ภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โดยใช้แนวคิด

                  ตลอดวัฏจักรชีวิต ซึ่งมีแนวทางการพัฒนาหลัก คือการสนับสนุนการผลิตภาคการเกษตรไปสู่

                  เกษตรกรรมที่ยั่งยืน โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตจากพืชเชิงเดี่ยวไปสู่เกษตรกรรม

                  ยั่งยืน อาทิ เกษตรธรรมชาติ เกษตรผสมผสาน เกษตรอินทรีย์ วนเกษตร และเกษตรทฤษฎีใหม่

                  สนับสนุนการพัฒนาปุ๋ยอินทรีย์ การใช้วัสดุอินทรีย์และการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพทดแทนการใช้สารเคมี

                  การเกษตร สนับสนุนงานวิจัยและจัดท าพื้นที่ต้นแบบ เพื่อสาธิตการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้เป็น

                  มิตรกับสิ่งแวดล้อม จัดให้มีแหล่งทุนและกลไกทางการตลาด เพื่อสร้างแรงจูงใจในการปรับรูปแบบการ
                  ท าการเกษตรให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม พัฒนาระบบการรับรองมาตรฐานและการตรวจสอบคุณภาพ

                  สินค้าเกษตรอินทรีย์ สินค้าเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ควบคู่ไปกับการพัฒนามาตรฐานความ

                  ปลอดภัยของสินค้าเกษตร เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภค ตลอดจนศึกษาความเหมาะสมในการ

                  ยกระดับมาตรฐานสินค้าเกษตรเหล่านี้ให้เป็นมาตรการเชิงบังคับ ขยายผลแนวคิดการท าเกษตรตามหลัก

                  ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสนับสนุนให้มีกระบวนการเรียนรู้ร่วมกันและผลักดันสู่กระบวนการท า
                  เกษตรกรรมยั่งยืนอย่างต่อเนื่อง


                        5. นโยบายและแผนการบริหารจัดการที่ดินและทรัพยากรดินของประเทศ (พ.ศ. 2560–

                  2579) มียุทธศาสตร์และกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องดังนี้

                           ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านการใช้ที่ดินและทรัพยากรดินเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด
                  มีกลยุทธ์หลักได้แก่ 1) การเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ประโยชน์ที่ดินของรัฐและเอกชนให้เกิดประโยชน์

                  สูงสุด โดยมุ่งเน้นการวางแผนก าหนดเป้าหมาย และสัดส่วนของการใช้ประโยชน์ที่ดินของประเทศ ให้มี

                  ความเหมาะสมอย่างเป็นระบบ ตามศักยภาพของที่ดินและสมรรถนะของดิน โดยให้ความส าคัญกับการ

                  มีส่วนร่วมของประชาชนและบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องให้มีประสิทธิภาพเป็นไปตามหลักการทาง

                  วิชาการ การก าหนดเขตและมาตรการการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทั้งในระดับประเทศ ระดับลุ่มน้ าและระดับ

                  จังหวัด ให้มีความสัมพันธ์และสอดคล้องกัน 2) การเสริมสร้างฐานการผลิตภาคเกษตรกรรมให้เข้มแข็ง

                  และยั่งยืน เพื่อสร้างความมั่นคงทางอาหาร โดยมุ่งเน้นการก าหนดพื้นที่เกษตรกรรม (Zoning) โดยการ
   72   73   74   75   76   77   78   79   80   81   82