Page 11 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 11

1-3





                  พื้นฐานแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งแผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงาได้จากการวิเคราะห์สถานภาพ

                  ของทรัพยากรธรรมชาติ ด้านทรัพยากรดินและการใช้ประโยชน์ที่ดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ และ
                  สิ่งแวดล้อม รวมถึงสภาวะด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนข้อกฎหมาย นโยบายและยุทธศาสตร์ของ
                  รัฐทั้งในระดับประเทศ และระดับท้องถิ่นของจังหวัดพังงา โดยวิธีการก าหนดหลักเกณฑ์ และสร้าง

                  เงื่อนไขในการก าหนดเขตการใช้ที่ดินตามศักยภาพและก าลังผลิตของพื้นที่ ภายใต้หลักการใช้ที่ดินอย่าง
                  ยั่งยืนและตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้แผนการใช้ที่ดินสามารถเป็นกรอบและแนวทางในการจัดท า
                  แผนพัฒนาพื้นที่ด้านการเกษตรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม

                        ขั้นตอนการด าเนินงาน

                        1.  ศึกษา รวบรวมข้อมูลปฐมภูมิ และทุติยภูมิที่จะน ามาวิเคราะห์ และใช้ในการก าหนดเขตการ

                  ใช้ที่ดิน รวมทั้งตรวจสอบ แก้ไขข้อมูล ให้มีความถูกต้อง โดยข้อมูลดังกล่าวประกอบด้วย
                          1.1  ด้านกายภาพ ได้แก่ ทรัพยากรดิน ทรัพยากรน้ า ทรัพยากรป่าไม้ ภูมิอากาศ สภาพการ
                  ใช้ที่ดิน ชั้นคุณภาพลุ่มน้ า โครงการพัฒนาต่างๆ
                          1.2   ด้านเศรษฐกิจสังคม ได้แก่ การถือครองที่ดิน การใช้ที่ดิน เศรษฐกิจที่ดิน พืชหลักหรือ

                  พืชเศรษฐกิจที่ส าคัญ เพื่อใช้เป็นเกณฑ์ในการตัดสินใจในการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน ตลาดสินค้าเกษตร
                  รายได้ รายจ่าย ประชากร โครงสร้างประชากร การศึกษา
                          1.3   ด้านนโยบาย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 แผนปฏิรูปประเทศ
                  ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรดิน ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี แผนพัฒนาเศรษฐกิจ

                  และสังคมแห่งชาติฉบับที่ 12 และแผนพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการก าหนดเขตการใช้ที่ดิน ได้แก่
                  แนวทางพัฒนาด้านเกษตรของประเทศ หลักการพัฒนาพื้นที่ของกลุ่มจังหวัด แผนพัฒนาจังหวัด
                  แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์ของจังหวัด แผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนจังหวัด และ

                  องค์การบริหารส่วนต าบล
                        2.  วิเคราะห์ข้อมูลด้านกายภาพ ได้แก่ สถานการณ์และประเด็นปัญหาของทรัพยากรดิน
                  ประเมินความเหมาะสมทางกายภาพของที่ดินต่อการใช้ประโยชน์ที่ดิน ข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมใน
                  จังหวัด นโยบายยุทธศาสตร์ แผนพัฒนาจังหวัด แผนพัฒนาการเกษตรและสหกรณ์จังหวัดพังงา และ
                  แผนพัฒนาต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

                        3. วิเคราะห์สภาพแวดล้อมด้านเกษตรของจังหวัดพังงา (SWOT  Analysis) และการวิเคราะห์
                  ภาพรวมของผลกระทบทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม DPSIR: Drivers-Pressures-States-
                  Impact-Responses  (แรงขับเคลื่อน - ภาวะกดดัน - สถานภาพทรัพยากร - ผลกระทบ - การ

                  ตอบสนอง)
                        4. ก าหนดเงื่อนไข หลักเกณฑ์การก าหนดเขตการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
                        5. ก าหนดเขตและจัดท าแผนการใช้ที่ดิน จังหวัดจังหวัดพังงา
                        6. จัดท ารายงานแผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16