Page 9 - แผนการใช้ที่ดินจังหวัดพังงา
P. 9

บทที่ 1


                                                         บทน า




                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        จากสถานการณ์ปัญหาการใช้ประโยชน์และการจัดการที่ดินของประเทศไทยในช่วงหลายทศวรรษ
                  ที่ผ่านมา มีหลายประเด็นส าคัญ ได้แก่ การบุกรุกพื้นที่อนุรักษ์ ความขัดแย้งเรื่องแนวเขตที่ดิน การใช้
                  ที่ดินที่ไม่เหมาะสมหรือเต็มศักยภาพ ความเหลื่อมล้ าและการกระจายการถือครองที่ดินที่ไม่เป็นธรรม

                  การไร้ที่ดินท ากิน การขาดเอกภาพในการบริหารจัดการที่มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน และเป็นอุปสรรค
                  ต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคม การรักษาความสมดุลของระบบนิเวศ ตลอดจนส่งผลต่อความมั่นคง
                  ของฐานทรัพยากรธรรมชาติโดยเฉพาะที่ดิน ซึ่งเป็นฐานหลักในการผลิตอาหารที่มั่นคงและปลอดภัย
                  และมีผลิตภาพสูง รวมไปถึงที่ดินยังมีบทบาทในการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศไทยในสาขาการพัฒนา

                  อื่นๆ เช่น ภาคอุตสาหกรรม อสังหาริมทรัพย์ และภาคบริการ ส่งผลให้ความต้องการที่ดินเพื่อกิจกรรม
                  ทางเศรษฐกิจต่างๆ ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเพื่อพัฒนา
                  ประเทศ นอกจากนี้ ทรัพยากรดินของประเทศไทย ยังประสบปัญหาดินเสื่อมโทรมและขาดความ

                  อุดมสมบูรณ์ โดยในปี 2550  ประเทศไทยมีพื้นที่เสื่อมโทรมทั้งสิ้น 319.58  ล้านไร่ ซึ่งเป็นพื้นที่เสื่อม
                  โทรมระดับรุนแรง และระดับวิกฤต จ านวน 35.88 ล้านไร่ หรือร้อยละ 11.24 ของพื้นที่ประเทศ (กรม
                  พัฒนาที่ดิน, 2550  อ้างถึงใน ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม,  2561)
                  โดยสาเหตุส าคัญที่ท าให้ดินเสื่อมโทรมมีทั้งเกิดจากการเสื่อมโทรมตามธรรมชาติ ซึ่งส่วนใหญ่มีสาเหตุมา
                  จากภัยพิบัติทางธรรมชาติ เช่น การเกิดภัยแล้ง อุทกภัย และดินถล่ม เป็นต้น และเกิดจากการกระท า

                  ของมนุษย์ เช่น การตัดไม้ เผา และถางป่า การใช้ที่ดินไม่เหมาะสมกับสมรรถนะของที่ดิน หรือการใช้
                  ที่ดินผิดประเภท รวมถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินติดต่อกันเป็นเวลานานแต่ขาดการบ ารุงรักษาสภาพดิน
                  ขาดการอนุรักษ์ดินและน้ า ส่งผลให้ดินเสื่อมโทรมลงอย่างรวดเร็ว เมื่อดินเสื่อมโทรมมาก การใช้ปุ๋ยเคมี

                  และสารเคมีในการท าเกษตรกรรมก็มีอัตราเพิ่มสูงขึ้น จากการส ามะโนการเกษตรของส านักงานสถิติ
                  แห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2556  พบว่า มีการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 57.3 กิโลกรัมต่อไร่ เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2536
                  และ พ.ศ. 2546 ที่มีปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมีเฉลี่ย 33.9 และ 41.8 กิโลกรัมต่อไร่ ตามล าดับ (ส านักงาน
                  สถิติแห่งชาติ, 2556 อ้างถึงใน ส านักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, 2561)

                        จากสถานการณ์ปัญหาดังกล่าว รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 72(1) จึง
                  ได้มีการบัญญัติให้มีการวางแผนการใช้ที่ดินของประเทศไทยให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่และศักยภาพ
                  ของที่ดินตามหลักการพัฒนาอย่างยั่งยืน และเพื่อให้เป็นไปในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญแห่ง
                  ราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 ส านักนายกรัฐมนตรี จึงได้ประกาศแผนการปฏิรูปประเทศ ลงวันที่ 6

                  เมษายน 2561 โดยมีแผนการปฏิรูปด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เรื่องทรัพยากรดิน ที่ได้
                  ก าหนดให้มีการจัดท าแผนการใช้ที่ดินของชาติทั้งระบบให้สอดคล้องและเหมาะสมกับศักยภาพของพื้นที่
                  และการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายให้ประเทศมีแผนการใช้ที่ดินของชาติที่มี
                  ความถูกต้อง แม่นย า และเป็นปัจจุบันทั้งระบบ และเกษตรกรสามารถน าข้อมูลแผนการใช้ที่ดินดังกล่าว
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14