Page 164 - rambutan
P. 164

3-90






                  ตารางที่ 3-37  ผลผลิตเฉลี่ยและมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนการผลิตเงาะ ในพื้นที่ภาคตะวันออก
                               ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) ปีการผลิต 2559

                                          ผลผลิต   ต้นทุนทั้งหมด               รายได้    ผลตอบแทนสุทธิ
                           ปีที่                                   ราคา
                                        (กก./ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)          (บาท/ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)
                            1               -          7,037.51      -           -            -7,037.51
                           2-3              -          10,051.31     -           -           -10,051.31

                           4-10          1,497.32      16,158.48     24.66     36,923.91      20,765.43
                           11-20         1,639.15      16,488.28     24.66     40,421.44      23,933.16
                         มากกว่า 20      1,456.88      15,023.57     24.66     35,926.66      20,903.09

                           รวม          34,157.14     380,250.14              842,315.07     462,064.93
                  NPV (r=7%)                          169,435.42              344,826.89     175,391.46

                  ค่าเฉลี่ยต่อปี (CRF=0.0858)   1,552.60   14,537.56           29,586.15      15,048.59
                  B/C = 2.04              IRR =  50.80 %         จุดคุ้มทุน =  ปีที่ 5


                  ที่มา :  วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่ส ารวจโดยกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร และกลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2560)

                                    พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) เงาะที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความ

                  เหมาะสมปานกลาง (S2) ในภาคตะวันออกได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,119.37 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าผลผลิต
                  27,603.66 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 12,233.73 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนผันแปร 9,782.92 บาทต่อไร่

                  (ร้อยละ 79.97) และต้นทุนคงที่ 2,450.81 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 20.03) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปร

                  ส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน 5,155.31 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 52.70) ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด
                  21,173.00 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร 17,820.74 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุน

                  ทั้งหมด 15,369.93 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 2.26 (ตารางที่ 3-38)

                                    เงาะปีที่ 1 และปีที่ 2-3 เกษตรกรยังไม่มีรายได้แต่มีค่าใช้จ่ายในการปลูกและ
                  ดูแลรักษาเนื่องจากเงาะยังไม่ให้ผลผลิตผลตอบแทนการผลิตทุกประเภทจึงขาดทุน กล่าวคือ ปีที่ 1

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 5,831.75 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ขาดทุน 8,334.09 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 10,038.69 บาทต่อไร่ ปีที่
                  2-3 ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 2,442.90 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ขาดทุน 3,641.38 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 5,505.32 บาทต่อไร่ ในช่วงอายุ

                  ที่ให้ผลผลิตค่าใช้จ่ายเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานร้อยละ 51.32-55.80 ของต้นทุนผันแปร เป็น

                  แรงงานคนมากกว่าแรงงานเครื่องจักร และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1 (2.16-2.57)
                  แสดงว่า ทุกช่วงอายุที่เงาะให้ผลผลิตเกษตรกรจะได้รับผลก าไรจากการลงทุน (ตารางที่ 3-39)
   159   160   161   162   163   164   165   166   167   168   169