Page 159 - rambutan
P. 159

3-85





                                    เงาะปีที่ 1 และปีที่ 2-3 เกษตรกรยังไม่มีรายได้แต่มีค่าใช้จ่ายในการปลูกและ

                  ดูแลรักษาเนื่องจากเงาะยังไม่ให้ผลผลิตผลตอบแทนการผลิตทุกประเภทจึงขาดทุน กล่าวคือ ปีที่ 1

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 4,676.38 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ขาดทุน 6,376.66 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 9,046.53 บาทต่อไร่ ปีที่ 2-

                  3 ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 1,390.21 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ขาดทุน 2,776.41 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 5,933.20 บาทต่อไร่ ในช่วงอายุ

                  ที่ให้ผลผลิตจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานมากที่สุดร้อยละ 54.89-60.00 ของต้นทุน
                  ผันแปร เป็นแรงงานคนมากกว่าแรงงานเครื่องจักร และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1

                  (1.93-2.51) แสดงว่า ทุกช่วงอายุที่เงาะให้ผลผลิตเกษตรกรจะได้รับผลก าไรจากการลงทุน

                  (ตารางที่  3-32)

                                    การผลิตเงาะตลอดช่วงอายุปีที่ 1-25 คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ในพื้นที่
                  ภาคใต้ได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 1,239.53 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน รายได้และผลตอบแทน

                  การผลิต มีดังนี้ ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 11,239.58 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อปี 21,448.59 บาทต่อไร่

                  ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี 10,209.01 บาทต่อไร่ อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 39.04 ต่อปี
                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.91 จุดคุ้มทุนในปีที่ 5 นับว่า ได้รับรายได้ต่อปีจากการลงทุน

                  ค่อนข้างต ่าแต่ระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างเร็ว คือปีที่ 2 หลังจากปีที่เริ่มให้ผลผลิต (ตารางที่ 3-33)


                  ตารางที่ 3-33  ผลผลิตเฉลี่ยและมูลค่าปัจจุบันของผลตอบแทนการผลิตเงาะ ในพื้นที่ภาคใต้

                               ปีการผลิต 2559
                                          ผลผลิต   ต้นทุนทั้งหมด               รายได้    ผลตอบแทนสุทธิ
                           ปีที่                                   ราคา
                                        (กก./ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)          (บาท/ไร่/ปี)   (บาท/ไร่/ปี)
                            1               -          9,046.53      -           -            -9,046.53

                           2-3              -          5,933.20      -           -            -5,933.20
                           4-10          1,042.48      12,449.17     23.10     24,081.29      11,632.12
                           11-20         1,380.31      12,692.86     23.10     31,885.16      19,192.30

                         มากกว่า 20      1,233.85      11,732.10     23.10     28,501.94      16,769.84
                           รวม          27,269.71     293,646.22              629,930.33     336,284.11

                  NPV (r=7%)                          130,997.42              249,983.58     118,986.16
                  ค่าเฉลี่ยต่อปี (CRF=0.0858)   1,239.53   11,239.58           21,448.59      10,209.01

                  B/C = 1.91              IRR =  39.04 %         จุดคุ้มทุน =  ปีที่ 5

                  ที่มา :  วิเคราะห์จากข้อมูลเบื้องต้นที่ส ารวจโดยกลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร และกลุ่มนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน
                        กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน (2560)
   154   155   156   157   158   159   160   161   162   163   164