Page 168 - rambutan
P. 168

3-94





                                    เงาะปีที่ 1 และปีที่ 2-3 เกษตรกรยังไม่มีรายได้แต่มีค่าใช้จ่ายในการปลูกและ

                  ดูแลรักษาเนื่องจากเงาะยังไม่ให้ผลผลิตผลตอบแทนการผลิตทุกประเภทจึงขาดทุน กล่าวคือ ปีที่ 1

                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,562.15 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร
                  ขาดทุน 5,327.57 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 7,533.29 บาทต่อไร่ ปีที่ 2-

                  3 ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,891.07 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร

                  ขาดทุน 5,738.56 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดขาดทุน 7,813.29 บาทต่อไร่ ในช่วงอายุ

                  ที่ให้ผลผลิตค่าใช้จ่ายเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงานร้อยละ 48.32-51.78 ของต้นทุนผันแปร เป็น
                  แรงงานคนมากกว่าแรงงานเครื่องจักร และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1 (1.76-2.47)

                  แสดงว่า ทุกช่วงอายุที่เงาะให้ผลผลิตเกษตรกรจะได้รับผลก าไรจากการลงทุน (ตารางที่  3-42)

                                    การผลิตเงาะตลอดช่วงอายุปีที่ 1-25 คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ในพื้นที่ที่มี

                  ระดับความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ในภาคตะวันออกได้ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี 1,218.12 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่า
                  ปัจจุบันของต้นทุน รายได้และผลตอบแทนการผลิต มีดังนี้ ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 12,588.07 บาท

                  ต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อปี 22,573.52 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี 9,985.45 บาทต่อไร่ อัตรา

                  ผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 36.16 ต่อปี อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 1.79 จุดคุ้มทุนในปีที่
                  6 นับว่า ได้รับรายได้ต่อปีจากการลงทุนค่อนข้างต ่าแต่ระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างเร็ว คือปีที่ 3 หลังจาก

                  ปีที่เริ่มให้ผลผลิต (ตารางที่ 3-43)
   163   164   165   166   167   168   169   170   171   172   173