Page 138 - rambutan
P. 138

3-64





                  การผลิตทุกประเภทจึงขาดทุน กล่าวคือ ปีที่ 1 ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,590.16 บาท

                  ต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรขาดทุน 5,369.27 บาทต่อไร่ และผลตอบแทนเหนือต้นทุน

                  ทั้งหมดขาดทุน 7,745.68 บาทต่อไร่ ปีที่ 2-3 ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสดขาดทุน 3,650.61
                  บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปรขาดทุน 5,530.56 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุน

                  ทั้งหมดขาดทุน 7,770.06 บาทต่อไร่ ในช่วงอายุที่ให้ผลผลิตจะเห็นว่า ค่าใช้จ่ายเฉลี่ยส่วนใหญ่เป็น

                  ค่าแรงงานมากที่สุดร้อยละ 45.94-51.60 ของต้นทุนผันแปร เป็นแรงงานคนมากกว่าแรงงานเครื่องจักร

                  และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่า 1 (2.22-2.48) แสดงว่า ทุกช่วงอายุที่เงาะให้ผลผลิต
                  เกษตรกรได้รับผลก าไรจากการลงทุน (ตารางที่ 3-16)

                              การผลิตเงาะตลอดช่วงอายุปีที่ 1-25 ของประเทศ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน (NPV) ได้

                  ผลผลิตเฉลี่ยต่อปี  1,373.52 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าปัจจุบันของต้นทุน รายได้และผลตอบแทน

                  การผลิต มีดังนี้ ต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ยต่อปี 12,819.06 บาทต่อไร่ รายได้เฉลี่ยต่อปี 25,817.78 บาทต่อไร่
                  ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยต่อปี 12,998.72 บาทต่อไร่ อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) ร้อยละ 48.56 ต่อปี

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนเท่ากับ 2.01 จุดคุ้มทุนในปีที่ 5 นับว่า ได้รับรายได้ต่อปีจากการลงทุน

                  ค่อนข้างต ่าแต่ระยะเวลาคืนทุนค่อนข้างเร็ว คือปีที่ 2 หลังจากปีที่เริ่มให้ผลผลิต (ตารางที่ 3-17)
                            2)  ต้นทุนและผลตอบแทนจ าแนกตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่

                              (1)  พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) เงาะที่ปลูกในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง

                  (S1) ได้ผลผลิตเฉลี่ย 1,298.57 กิโลกรัมต่อไร่ มูลค่าผลผลิต 31,607.19 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด
                   14,155.86 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนผันแปร 11,667.52 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 82.42) และต้นทุนคงที่

                  2,488.34 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 17.58) ค่าใช้จ่ายที่เป็นต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน 5,550.36

                  บาทต่อไร่ (ร้อยละ 47.57) ได้ผลตอบแทนเหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 23,092.58 บาทต่อไร่ ผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนผันแปร 19,939.67 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 17,451.33 บาทต่อไร่ และมี
                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 2.23 (ตารางที่ 3-18)

                                    เงาะแยกตามช่วงอายุที่ปลูกในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) พบว่า

                  ผลตอบแทนการผลิตมากที่สุดในช่วงที่เงาะมีอายุ 11-20 ปี กล่าวคือ ผลผลิตเฉลี่ย 1,548.58 กิโลกรัม
                  ต่อไร่ มูลค่าผลผลิต 37,692.44 บาทต่อไร่ ต้นทุนทั้งหมด 15,377.76 บาทต่อไร่ เป็นต้นทุนผันแปร

                  12,775.01 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 83.07) และต้นทุนคงที่ 2,602.75 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 16.93) ค่าใช้จ่ายที่

                  เป็นต้นทุนผันแปรส่วนใหญ่เป็นค่าแรงงาน 6,299.47 บาทต่อไร่ (ร้อยละ 49.31) ได้รับผลตอบแทน

                  เหนือต้นทุนที่เป็นเงินสด 27,914.65 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนผันแปร 24,917.49 บาทต่อไร่
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 22,314.68 บาทต่อไร่ และมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด

                  เท่ากับ 2.45 (ตารางที่ 3-19)
   133   134   135   136   137   138   139   140   141   142   143