Page 71 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 71

3-25






                    5. ไพลพัฒนาการผลิตและแปรรูปไพลให้มีมาตรฐาน สะอาด มีความปลอดภัย และเป็นที่ยอมรับ

                  ของผู้บริโภค
                    6. คุณภาพของไพลที่ผลิตในประเทศมีคุณภาพดีกว่าไพลจากประเทศอื่นๆ

                  จุดอ่อน (Weakness)
                    1. ไพลเมื่อถูกปลูกซ้ าพื้นที่เดิมหลายครั้ง สภาพพื้นที่ปลูกจะมีความชื้นแฉะ หากมีการบริหารจัดการ
                  ระบบระบายน้ าไม่ดี ไพลจะเกิดปัญหาโรคเหง้าและรากไพลเน่า

                    2. ขาดการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ของไพล เพื่อเพิ่มผลผลิตต่อไร่ และปริมาณสาระส าคัญ
                    3. ขาดการส่งเสริมการบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์จากไพล ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
                    4. ขาดการการวิจัยด้านการตลาด และระดับความต้องการของผู้บริโภค

                    5. ขาดฐานข้อมูลการเพาะปลูกและการผลิตไพล เพื่อประกอบการบริหารจัดการ
                    6. ปริมาณผลผลิตกับความต้องการของตลาดยังไม่มีความสอดคล้องกัน
                    7. ราคาไม่แน่นอน ไม่มีเกณฑ์ราคากลางเพื่อเป็นแนวทางให้แก่เกษตรกรผู้ปลูก
                    8. ไพลยังไม่ได้รับการบรรจุไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ

                  โอกาส (Opportunity)

                    1. ธุรกิจนวดแผนไทยและธุรกิจสปามีการขยายตัว จึงมีความต้องการวัตถุดิบไพลที่เป็นส่วนประกอบหลัก
                  ในลูกประคบและน้ ามันหอมระเหยไพล ส าหรับใช้นวดแผนไทยและสปา
                    2. ไพลเป็นพืชสมุนไพรน าร่องตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาสมุนไพรไทย พ.ศ. 2560 – 2564
                    3. กระแสความนิยมบริโภคสินค้าและผลิตภัณฑ์จากธรรมชาติ ปลอดสารเคมีก าลังเป็นที่นิยมของ

                  ผู้บริโภค ทั้งตลาดภายในประเทศและตลาดต่างประเทศ
                    4. ประเทศไทยมีภูมิประเทศและสภาพอากาศที่เหมาะสมต่อการปลูกสมุนไพร จึงท าให้ประเทศไทย
                  มีสมุนไพรหลากหลายชนิด ที่มีสรรพคุณส่งเสริมกัน สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้หลายประเภท
                    5. สนับสนุนการสร้างมูลค่าเพิ่ม การแปรรูปและพัฒนาผลิตภัณฑ์ไพลเพื่อสุขภาพในระดับชุมชน

                    6. เกษตรกรไทยมีความได้เปรียบในด้านความรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่น บุคลากรมีทักษะและความช านาญ
                  ในการปลูกพืชสมุนไพร

                  ข้อจ ากัด (Threats)
                    1. ขาดการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้สมุนไพรในการรักษาโรค

                    2. ขาดหน่วยงานรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์ไพล และสมุนไพรแปรรูปโดยตรง
                    3. การยอมรับสรรพคุณของผลิตภัณฑ์จากไพลในแพทย์แผนปัจจุบันอยู่ในระดับต่ า
                    4. ขาดการเชื่อมโยงระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และเกษตรกร ท าให้การพัฒนาศักยภาพการแข่งขัน
                  เป็นไปในทิศทางที่แตกต่างกัน
                    5. ขาดหน่วยงานที่รับผิดชอบในการตรวจสอบกระบวนการแปรรูปผลิตภัณฑ์ และยังไม่ได้รับการ

                  รับรองมาตรฐาน เช่น GAP , GMP
                    6. การส่งออกไปประเทศจีน ยังมีอุปสรรคในเรื่องการขึ้นทะเบียนองค์การอาหารและยา










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75   76