Page 74 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 74

4-2





                  4.2  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล

                        จากหลักเกณฑ์ที่ก าหนดสามารถก าหนดเขตการใช้ที่ดินได้ 3 เขต ดังนี้ (ตารางที่ 4-1  ตารางที่ 4-2
                  และรูปที่ 4-1 ถึงรูปที่ 4-6)

                        1. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) มีเนื้อที่ 587,396 ไร่ คิดเป็นร้อยละ
                  16.40 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี เชียงราย ตาก ชัยภูมิ
                  สุพรรณบุรี
                          แนวทางการพัฒนาเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล ที่มีความเหมาะสมมาก

                            เขตการใช้ที่ดินในเขตนี้เป็นเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมของที่ดินทางกายภาพสูง (S1)
                  และเป็นพื้นที่ที่มีหรือไม่มีการปลูกไพล และ/หรือมีการส่งเสริมให้มีการปลูกไพลรวมทั้งมีการรวมกลุ่มของ
                  เกษตรกรในการปลูกไพล และมีการผลผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าของไพล จึงเป็นเขตที่มีความพร้อมมากที่สุด
                  ในการพัฒนาการผลิต เพื่อเป็นการลดต้นทุนและเพิ่มผลผลิตของไพล แนวทางในการส่งเสริมเกษตรกร

                  ในเขตนี้ ได้แก่
                            -  การเพิ่มผลผลิตและการลดต้นทุนการผลิต เสริมสร้างความเข้มแข็งของกลุ่มเกษตรกร
                  ผู้ปลูกไพล เพื่อให้มีอ านาจต่อรองในด้านราคา
                            -  เพิ่มมูลค่าผลผลิต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีไพลเป็นส่วนประกอบ โดยเฉพาะ

                  อย่างยิ่ง ผลิตภัณฑ์ และสารสกัดที่เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ
                            -  ส่งเสริมการท าเกษตรอินทรีย์ ซึ่งจะท าให้ไพลได้ราคาสูง
                        2. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II) มีเนื้อที่ 2,090,273 ไร่
                  ดเป็นร้อยละ 58.38 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี

                  จันทบุรี สุราษฎร์ธานี ตรัง และ สระแก้ว
                          แนวทางการพัฒนาเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล ที่มีความเหมาะสมปานกลาง (Z-II)
                            เขตการใช้ที่ดินในเขตนี้เป็นเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมของที่ดินทางกายภาพปานกลาง (S2)
                  และเป็นพื้นที่ที่มีการปลูกไพลอยู่แล้ว และ/หรือมีการส่งเสริมให้มีการปลูกไพล เป็นเขตที่มีศักยภาพในการ

                  ผลิตไพล แต่ยังมีปัญหาทรัพยากรดินเนื่องจากมีข้อจ ากัดที่ส่งผลต่อการผลิต เช่น มีเนื้อดินเป็นดินทรายท าให้
                  เสี่ยงต่อการขาดน้ า
                            -  พัฒนาแหล่งน้ า เพื่อให้มีน้ าเพียงพอในช่วงเพาะปลูก

                            -  ส่งเสริมการรวมกลุ่มเกษตรกร รวมทั้งการให้ความรู้แก่กลุ่มเกษตรกร/เกษตรกรที่ต้องการ
                  ผลิตไพล
                            -  การปรับปรุงบ ารุงดิน เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                            -  ส่งเสริมให้เกษตรกรท าเกษตรแบบผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรมีรายได้อย่างต่อเนื่อง
                        3. เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพลที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีเนื้อที่ 903,095 ไร่ คิดเป็น

                  ร้อยละ 25.22 โดยจังหวัดที่มีพื้นที่มีเขตการใช้ที่ดินเหมาะสมเล็กน้อย ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา สุราษฎร์ธานี
                  ตรัง สุรินทร์ เชียงราย






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                            กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   69   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79