Page 30 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล
P. 30

2-18





                            2.13)  หน่วยที่ดินที่ 46 46I 46b 46bI 46gm 46B 46BI 46Bb 46BbI 46C 46CI
                  46D และ46E

                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินตื้น การระบายน้ า
                  ดีปานกลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนต่ า อัตราร้อยละความอิ่มตัว
                  เบสต่ า ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-7.0 ดินล่างมีเนื้อดิน
                  เป็นดินเหนียวปนกรวดมาก และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.5
                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้นถึงชั้นลูกรัง พบก้อนกรวด หรือลูกรัง
                  ภายในระดับความลึก 50 เซนติเมตร จากผิวดิน มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า บริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมี

                  ปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของหน้าดินได้ง่าย ดินกลุ่มนี้ใช้ปลูกพืชไร่บางชนิด เช่น มันส าปะหลัง
                  อ้อย และปอ บางแห่งเป็นทุ่งหญ้าธรรมชาติ และป่าละเมาะ หรือมีการปลูกป่าทดแทน
                            2.14)  หน่วยที่ดินที่ 47 47I 47B 47BI 47Bb 47BbI 47C 47CI 47D และ47E
                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินตื้น การระบายน้ า
                  ดีปานกลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนปานกลางถึงค่อนข้างสูง อัตราร้อยละ
                  ความอิ่มตัวเบสค่อนข้างต่ าถึงปานกลาง ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนกรวด และค่าความเป็น
                  กรดเป็นด่าง 5.5-7.0 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนกรวดมาก และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-6.5

                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้นถึงชั้นหินพื้น และมีเศษหินปะปน
                  อยู่ในเนื้อดินเป็นปริมาณมาก ในบริเวณที่มีความลาดชันสูงจะมีปัญหาเกี่ยวกับการชะล้างพังทลายของ
                  หน้าดินอย่างรุนแรง ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่ เป็นป่าเบญจพรรณ ป่าเต็งรัง หรือป่าละเมาะ บางแห่งใช้
                  ท าไร่เลื่อนลอย หรือปลูกป่าทดแทน
                            2.15)  หน่วยที่ดินที่ 48 48I 48gm 48gmI 48B 48BI 48Bb 48C 48CI 48D และ
                  48E

                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงเนินเขา ดินตื้น การระบาย
                  น้ าดีปานกลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนต่ า อัตราร้อยละความ
                  อิ่มตัวเบสต่ า ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 4.5-5.0 ดินล่าง
                  มีเนื้อดินเป็นดินร่วนเหนียวปนทรายปนกรวดมากถึงชั้นหินพื้น และค่าความเป็นกรดเป็นด่าง 5.5-6.0
                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้นมาก บริเวณที่มีความลาดชันสูง
                  จะเกิดปัญหาการชะล้างพังทลายได้ง่าย และดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ดินกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ
                  ป่าเต็งรัง ป่าละเมาะ และทุ่งหญ้าธรรมชาติ บางแห่งใช้ปลูกพืชไร่หรือไม้โตเร็ว
                            2.16)  หน่วยที่ดินที่ 49 49I 49dan 49danI 49sheet 49B 49BI 49Bb 49BbI

                  49Bdan 49Bsheet 49BsheetI 49C 49Cdan และ49D
                                พบในสภาพพื้นที่ราบเรียบ หรือค่อนข้างราบเรียบถึงลูกคลื่นลอนชัน ดินตื้น การ
                  ระบายน้ าดีปานกลางถึงดี ดินมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า ความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนปานกลางถึง
                  ค่อนข้างสูง อัตราร้อยละความอิ่มตัวเบสต่ า ดินบนมีเนื้อดินเป็นดินร่วนปนทราย และค่าความเป็นกรด
                  เป็นด่าง 5.0-6.5 ดินล่างมีเนื้อดินเป็นดินเหนียวปนกรวดมาก หรือดินเหนียว และค่าความเป็นกรดเป็น
                  ด่าง 4.5-5.5

                                ปัญหาในการใช้ประโยชน์ที่ดิน ได้แก่ เป็นดินตื้น และมีความอุดมสมบูรณ์ต่ า บาง
                  แห่งมีก้อนศิลาแลงโผล่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปเป็นอุปสรรคต่อการเขตกรรม บริเวณที่มีความลาดชันสูง







                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจไพล                         กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   25   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35