Page 75 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 75

2-57






                             2) การตลาด

                               พืชเศรษฐกิจยาสูบ มีความส าคัญต่อการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เป็นอีกหนึ่งอาชีพเสริม
                  หลังจากฤดูเก็บเกี่ยวนาข้าวแล้ว เกษตรกรส่วนใหญ่ในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับ
                  ใบอนุญาตเพาะปลูกจากกรมสรรพสามิต จะท าการเพาะปลูกยาสูบเป็นอาชีพเสริม เนื่องจากยาสูบเป็นพืช

                  ที่ให้ผลผลิตเร็วสามารถสร้างรายได้ ขณะเดียวกันยาสูบจัดเป็นพืชควบคุมตามกฎหมายโดยกรมสรรพสามิต
                  ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐที่มีหน้าที่ก ากับดูแลการผลิต การซื้อขายและการส่งออกยาสูบ โดยหน่วยงานที่รับซื้อ
                  ยาสูบจากเกษตรกรมีด้วยกัน 2 หน่วยงาน คือ บริษัทเอกชนที่ท าหน้าที่รับซื้อยาสูบจากเกษตรกรแล้วที่
                  ประกอบอุตสาหกรรมยาสูบครบวงจร ตั้งแต่ส่งเสริมการผลิตและรับซื้อยาสูบตลอดจนผลิตและจ าหน่ายบุหรี่
                  โดยจัดสรรโควตาการผลิตยาสูบให้แก่เกษตรกรในสังกัดแล้วรับซื้อยาสูบตลอดจนผลิตและจ าหน่ายบุหรี่

                  ผลผลิตทั้งหมดเกษตรกรจะส่งขายให้แก่โรงงานยาสูบและบริษัทผลิตบุหรี่ข้ามชาติ แต่ยาสูบพันธุ์พื้นเมือง
                  จะน าไปผลิตเป็นยาเส้น เพื่อบริโภคภายในประเทศ
                               ราคารับซื้อใบยาของการยาสูบแห่งประเทศไทย เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยของทั้งประเทศ

                  ปีการผลิต 2559/60 พันธุ์เวอร์ยิเนีย ราคา 88.54 บาทต่อกิโลกรัม สูงกว่าราคาเฉลี่ยของทั้งประเทศที่
                  พันธุ์เวอร์ยิเนีย มีราคา 88.12 บาทต่อกิโลกรัม ขณะที่พันธุ์เบอร์เลย์ และพันธุ์เตอร์กิช ราคารับซื้อใบยาของ
                  การยาสูบแห่งประเทศไทยอยู่ที่ 57.91 และ 64.23 บาทต่อกิโลกรัม ตามล าดับ ซึ่งราคาต่ ากว่าราคาเฉลี่ย
                  ของทั้งประเทศ ที่มีราคา 57.92 และ 65.03 บาทต่อกิโลกรัม ตามล าดับ (ตารางที่ 2-16)

                               โดยกลไกและการก าหนดราคายาสูบของการยาสูบแห่งประเทศไทย จะท าการก าหนด
                  ราคารับซื้อแยกตามเกรดมาตรฐานใบยาสูบแต่ละฤดู และจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการ
                  การยาสูบแห่งประเทศไทย

                  ตารางที่ 2-16   สถิติราคารับซื อใบยาของการยาสูบแห่งประเทศไทย เปรียบเทียบกับราคาเฉลี่ยของทั งประเทศ

                                      การยาสูบแห่งประเทศไทย                    รวมทั งประเทศ

                                           (บาท/กิโลกรัม)                      (บาท/กิโลกรัม)
                    ปีการผลิต
                                พันธุ์เวอร์   พันธุ์       พันธุ์    พันธุ์เวอร์ยิ  พันธุ์      พันธุ์
                                  ยิเนีย     เบอร์เลย์    เตอร์กิช      เนีย       เบอร์เลย์   เตอร์กิช

                   2557/2558      89.40       59.15        64.91       87.93        56.56       66.60

                   2558/2559      88.07       57.74        64.42       84.42        57.47       67.84

                   2559/2560      88.54       57.91        64.23       88.12        57.92       65.03
                  ที่มา : การยาสูบแห่งประเทศไทย (2561)

                                การน าเข้าในปี 2560 มีการน าเข้ายาสูบและผลิตภัณฑ์ที่ใช้แทนยาสูบปริมาณ
                  20,931,072 กิโลกรัม มูลค่า 7,737,157,322 บาท เพิ่มขึ้นจาก   18,357,447 กิโลกรัม มูลค่า
                  5,284,731,939 บาท ในปี 2556 หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงเฉลี่ยเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 และ 10.15 ต่อปี

                  ตามล าดับ










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                             กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   70   71   72   73   74   75   76   77   78   79   80