Page 70 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 70

2-52








                       500

                       400


                       300

                       200


                       100


                        0







                  รูปที่ 2-11  ผลผลิตต่อไร่ ของประเทศผู้ผลิตที่ส าคัญ 10 อันดับแรก ปี 2557-2559

                             2) การตลาด
                               ภายในทศวรรษที่ผ่านมาการเพาะปลูกยาสูบเพื่อการค้า มีการแพร่กระจายไปทั่วโลก

                  ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากกลไกการผลิตบุหรี่ที่มีการพัฒนามากขึ้น ช่วยให้ตลาดบุหรี่เติบโตได้อย่างรวดเร็ว
                  ส่งผลต่อความต้องการใบยาสูบที่เพิ่มขึ้นเพื่อรองรับการเติบโตของตลาดบุหรี่ จากข้อมูลขององค์การ
                  อาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2559 มูลค่าการผลิตโดยรวม (Gross Production

                  Value) ของใบยาสูบโลกมีมูลค่า 15,653.91 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี
                  พบว่า ช่วงปี 2550 - 2559 มูลค่าการผลิตโดยรวม (Gross Production Value) ของใบยาสูบโลกมี
                  อัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.29 โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงระหว่าง ปี 2550 - 2555 ตามด้วยการ
                  เริ่มต้นลดลงใน ปี 2557 - 2559 (ตารางที่ 2-11) และ (รูปที่ 2-12) สอดคล้องกับมูลค่าและปริมาณการ
                  ส่งออก และน าเข้ายาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบทั่วโลกที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น

                               จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ในปี 2559
                  ปริมาณการส่งออกและน าเข้ายาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบของโลก มีปริมาณ 4,419,288 ตัน และ
                  4,019,061 ตัน ตามล าดับ ขณะที่มูลค่าการส่งออกและน าเข้ายาสูบและผลิตภัณฑ์ยาสูบของโลก มี

                  มูลค่า 40,513.35 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และ 42,288.67 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ตามล าดับ เมื่อพิจารณา
                  ข้อมูลย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ช่วงปี 2550 - 2559 ปริมาณการส่งออกและน าเข้ายาสูบและผลิตภัณฑ์
                  ยาสูบของโลก มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.92 และ 0.99 ตามล าดับ ส่วนมูลค่าการส่งออกและน าเข้ายาสูบ
                  และผลิตภัณฑ์ยาสูบของโลก มีอัตราเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.61 และ 3.33 ตามล าดับ (ตารางที่ 2-12)










                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   65   66   67   68   69   70   71   72   73   74   75