Page 65 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 65

2-47





                  2.6  สภาวการณ์การผลิตและการตลาด

                        2.6.1 สถานการณ์ยาสูบของโลก
                             1) สถานการณ์การผลิต

                               จากข้อมูลขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ปี 2559 ทั้งโลกมี
                  ประเทศที่มีการผลิตยาสูบจ านวนมากกว่า 130 ประเทศ ค่าเฉลี่ยของสัดส่วนผลผลิตยาสูบของโลก
                  จ าแนกตามภูมิภาค ระหว่างปี 2557 – 2559 พบว่า ผลผลิตยาสูบส่วนใหญ่ของโลกอยู่ในทวีปเอเชีย
                  คิดเป็นร้อยละ 65.93 รองลงมา คือ ทวีปอเมริการ้อยละ 20.38 (รูปที่ 2-5)





                                                                                          0.03%




















                    รูปที่ 2-5 ค่าเฉลี่ยของสัดส่วนผลผลิตยาสูบของโลก จ าแนกตามภูมิภาค ระหว่างปี 2557 – 2559


                               ในปี 2559 พื้นที่เก็บเกี่ยวพืชยาสูบทั้งหมดของโลก มีจ านวน 23,481,315 ไร่ ผลผลิต
                  6,664,234 ตัน ผลผลิตเฉลี่ย 284 กิโลกรัมต่อไร่ โดยประเทศที่มีผลผลิตยาสูบมากที่สุดในโลก คือ
                  สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผลผลิต 2,806,770 ตัน หรือร้อยละ 44.12 ของผลผลิตทั้งหมดของโลก
                  รองลงมา คือ อินเดีย ผลผลิต 761,318 ตัน หรือร้อยละ 11.42 และบราซิล ผลผลิต 675,545 ตัน หรือ
                  ร้อยละ 10.14 ตามล าดับ ในช่วงปี 2557 - 2559 พบว่า แนวโน้มพื้นที่เก็บเกี่ยว มีอัตราการ

                  เปลี่ยนแปลงเฉลี่ยลดลงร้อยละ 3.38 ส่งผลให้ปริมาณผลผลิตและผลผลิตต่อไร่ของยาสูบมีอัตราการ
                  เปลี่ยนแปลงเฉลี่ยลดลงร้อยละ 4.36 และ 1.02 ตามล าดับ (ตารางที่ 2-10) และ (รูปที่ 2-9 - รูปที่ 2-11)
                               ขณะที่ใบยาสูบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะน าไปใช้ผลิตบุหรี่ ซึ่งอุตสาหกรรมบุหรี่ทั่วโลกเป็น

                  หนึ่งในอุตสาหกรรมที่สร้างรายได้มหาศาล จากข้อมูล Euromonitor International, 2017 รายงาน
                  ยอดค้าปลีกบุหรี่ในปี ค. ศ. 2016 มีมูลค่าถึง 683.4 พันล้านเหรียญสหรัฐ และมีการขายบุหรี่มากกว่า
                  5.5 ล้านล้านมวน ให้กับผู้สูบบุหรี่ทั่วโลก โดยที่ระหว่าง ปี ค.ศ. 2002 ถึง 2016 ยอดขายบุหรี่ทั่วโลกเพิ่มขึ้น
                  ร้อยละ 1.3 ในขณะที่มูลค่าขายปลีกที่แท้จริงเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.6 (รูปที่ 2-6)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   60   61   62   63   64   65   66   67   68   69   70