Page 20 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 20

2-2





                  ตะวันตกถัดมาเป็นเทือกเขาพนมดงรักใช้เป็นพรมแดนระหว่างประเทศไทยและราชอาณาจักรกัมพูชา

                  บริเวณตอนกลางของภาคมีลักษณะเป็นแอ่งกะทะ แบ่งเป็นแอ่งโคราชและแอ่งสกลนครโดยมีทิวเขาภูพาน
                  ซึ่งตั้งอยู่บริเวณจังหวัดสกลนคร กาฬสินธุ์ และมุกดาหาร กั้นแอ่งทั้ง 2 แอ่ง แอ่งโคราชเป็นพื้นที่ราบทาง
                  ตอนใต้ของภาคครอบคลุมพื้นที่จังหวัดนครราชสีมาไปทางทิศตะวันออก มีแม่น้ าชีและแม่น้ ามูลเป็นแม่น้ า

                  สายส าคัญ ส่วนแอ่งสกลนครเป็นพื้นที่ราบทางตอนบนของภาคครอบคลุมพื้นที่จังหวัดสกลนคร อุดรธานี
                  เรื่อยไปจนถึงจังหวัดนครพนม มีแม่น้ าสายส าคัญ ได้แก่ แม่น้ าโขงไหลผ่านประเทศไทยบริเวณอ าเภอเชียงคาน
                  จังหวัดเลย ลัดเลาะไปตามแนวเขตแดนจนกระทั่งไหลวกเข้าไปในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
                  บริเวณอ าเภอโขงเจียม จังหวัดอุบลราชธานี
                        2.1.3  ภาคกลาง

                            มีพื้นที่รวมประมาณ 43,450,440 ไร่ ประกอบด้วยจังหวัดในภาคกลาง 19 จังหวัด ได้แก่
                  จังหวัดกาญจนบุรี กรุงเทพมหานคร ชัยนาท นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์
                  พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สิงห์บุรี

                  สุพรรณบุรี และอ่างทอง ลักษณะภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นที่ราบดินตะกอนที่ล าน้ าพัดมาทับถม มีภูเขาโดด
                  ซึ่งส่วนใหญ่เป็นภูเขาหินปนกระจายอยู่ทั่วไป ระดับความลาดเทของพื้นที่ลาดเทจากทิศเหนือลงมาทางทิศใต้
                  ทางทิศตะวันออกของภาคมีเทือกเขาดงพญาเย็นและเทือกเขาสันก าแพงใช้เป็นแนวเขตระหว่างภาคกลาง
                  และภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลางของภาค บริเวณตะวันตกของภาคมีเทือกเขาวางตัวต่อเนื่องจาก

                  ภาคเหนือในแนวเหนือใต้ประกอบด้วยเทือกเขาถนนธงชัยและเทือกเขาตะนาวศรีใช้เป็นแนวพรมแดน
                  ระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์บริเวณตะวันตกมีทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องจากทิวเขา
                  ภาคเหนือลงไปจนถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เทือกเขาที่ส าคัญ ได้แก่ เทือกเขาถนนธงชัยและ
                  เทือกเขาตะนาวศรี บริเวณที่ราบตอนใต้เป็นดินดอนสามเหลี่ยมปากแม่น้ าเจ้าพระยา ซึ่งเกิดการรวมตัว

                  ของแม่น้ าปิง วัง ยม และแม่น้ าน่านไหลมารวมกันเป็นแม่น้ าเจ้าพระยา
                        2.1.4  ภาคตะวันออก
                            มีพื้นที่รวมประมาณ 21,487,812 ไร่ ประกอบด้วยจังหวัดในภาคตะวันออก 7 จังหวัด
                  ได้แก่ จังหวัดจันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ตราด ปราจีนบุรี ระยอง และสระแก้ว ลักษณะภูมิประเทศ

                  บริเวณตอนบนของภาคจะเป็นภูเขาและแนวเทือกเขาสูง มีเทือกเขาสันก าแพงและเทือกเขาพนมดงรัก
                  ทอดตัวในแนวตะวันตกไปทางทิศตะวันออกกั้นภาคตะวันออกและตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณ
                  ตะวันออกของภาคมีเทือกเขาบรรทัดกั้นพรมแดนประเทศไทยกับราชอาณาจักรกัมพูชาวางตัวในแนว

                  เหนือใต้ ถัดลงมาเป็นเทือกเขาจันทบุรี เทือกเขาสูงมีความลาดเทจากทิศเหนือลงมาทิศใต้
                  ทางตอนใต้เป็นที่ราบชายฝั่งทะเลลักษณะของชายฝั่งเว้าแหว่ง ประกอบด้วยเกาะและหาดทราย
                  ที่สวยงามส่วนพื้นที่ราบมีแม่น้ าบางปะกงเป็นแม่น้ าสายส าคัญ
                        2.1.5 ภาคใต้
                            มีพื้นที่รวมประมาณ 44,196,992 ไร่ ประกอบด้วยจังหวัดในภาคใต้ 14 จังหวัด ได้แก่

                  จังหวัดกระบี่ ชุมพร ตรัง นครศรีธรรมราช นราธิวาส ปัตตานี พังงา พัทลุง ภูเก็ต ยะลา ระนอง สงขลา
                  สตูล และสุราษฎร์ธานี มีลักษณะภูมิประเทศเด่น 4 แบบ คือ เทือกเขาสูง ที่ราบชายฝั่งอ่าวไทย ที่ราบ
                  ชายฝั่งอันดามัน และเกาะ โดยเทือกเขาสูงพบทิศตะวันตกของภาคทอดตัวในแนวเหนือใต้ ได้แก่ เทือกเขา

                  ตะนาวศรี ใช้เป็นพรมแดนกั้นประเทศไทยกับสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมาร์ ถัดมาเป็นเทือกเขาภูเก็ต





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   15   16   17   18   19   20   21   22   23   24   25