Page 15 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 15

บทที่ 1

                                                         บทนํา


                  1.1  หลักการและเหตุผล

                        ยาสูบ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกรได้เป็นอย่างดี

                  เป็นพืชที่มีการควบคุมตามกฎหมายทั้งในด้านการปลูก การซื้อขาย การบ่มใบยา การส่งออก และการน าเข้า
                  โดยผู้ที่จะปลูกยาสูบต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิต กระทรวงการคลังก่อน โดยในส่วนของการใช้
                  ใบยาสูบในประเทศไทย มีโรงงานยาสูบ กระทรวงการคลัง เป็นหน่วยงานเดียวที่ใช้ใบยาสูบท าการมวนบุหรี่
                  และจ าหน่ายในประเทศ ซึ่งแต่เดิมจะต้องน าเข้าใบยาจากต่างประเทศเพื่อน ามาปรุงรสแต่งกลิ่น แต่
                  ปัจจุบันยาสูบของไทยมีคุณภาพและรสชาติดีขึ้น จึงมีการใช้ใบยาสูบของไทยเป็นส่วนใหญ่ ท าให้การน าเข้า

                  ใบยาจากต่างประเทศลดลง ส าหรับแนวโน้มของการบริโภคบุหรี่ทั่วโลกในปัจจุบัน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นใน
                  ประเทศที่มีรายได้ปานกลางถึงต่ า แต่แนวโน้มของการบริโภคบุหรี่ในประเทศที่มีรายได้สูงกลับมีสัดส่วน
                  ลดลง ในระหว่างปี พ.ศ. 2548-2559

                        ยาสูบ ปลูกมากในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และมีปลูกอยู่บ้าง
                  เล็กน้อยในพื้นที่ภาคกลาง จากข้อมูลของกรมพัฒนาที่ดิน พบว่ามีพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ 231,047 ไร่
                  (กลุ่มวิเคราะห์สภาพการใช้ที่ดิน, 2561) โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในเขตเกษตรกรรม 227,771 ไร่ หรือร้อยละ
                  98.58 ของพื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ และอยู่ในเขตป่าตามกฎหมาย 3,276 ไร่ หรือร้อยละ 1.42 ของ

                  พื้นที่ปลูกยาสูบทั้งประเทศ โดยภาคเหนือมีการปลูกยาสูบมากในจังหวัดสุโขทัย เพชรบูรณ์ และแพร่
                  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีการปลูกยาสูบมากในจังหวัดหนองคาย นครพนม และบึงกาฬ ส่วนภาคกลาง
                  พบว่ามีการปลูกยาสูบเล็กน้อยในจังหวัดกาญจนบุรี เกษตรกรผู้ปลูกยาสูบบางส่วนปลูกตามโควตาของ
                  การยาสูบแห่งประเทศไทย และบางรายปลูกยาสูบตามโควตาของบริษัทผู้รับซื้อใบยาสูบผ่านบริษัท

                  ผู้จัดหาใบยาเพื่อการส่งออก
                        จากข้อมูลสถานการณ์การผลิตยาสูบของเกษตรกรตามโควตาของการยาสูบแห่งประเทศไทย
                  พบว่าแนวโน้มการผลิตยาสูบตามโควตาของการยาสูบแห่งประเทศไทยลดลง จากปี พ.ศ.2552 ซึ่งมี
                  พื้นที่ปลูกยาสูบ 207,147 ไร่ ลดลงเหลือ 134,165 ไร่ ในปี พ.ศ.2560 คิดเป็นอัตราการขยายตัวที่มี

                  แนวโน้มลดลงเฉลี่ยร้อยละ 4.66 ต่อปี (ส านักมาตรฐานและพัฒนาการจัดเก็บภาษี 1, 2560)
                        แม้ว่าการปลูกยาสูบจะให้ผลตอบแทนต่อพื้นที่สูง แต่ยาสูบเป็นพืชที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดย
                  กระทรวงสาธารณสุข ได้ออกนโยบายและมาตรการควบคุมยาสูบ และมีการขยายสาระในเรื่องการจัดท า

                  สิ่งแวดล้อมให้ปลอดควันบุหรี่ ประกอบกับรัฐมีการออกนโยบายในการเก็บภาษีใบยาเพิ่มขึ้น การยาสูบ
                  แห่งประเทศไทยจึงวางแผนเพื่อลดโควตารับซื้อใบยาสูบในอนาคตลง และวางแผนเพื่อลดพื้นที่ปลูก
                  ยาสูบ โดยมีการตั้งเป้าหมายในการลดพื้นที่ปลูกยาสูบลงร้อยละ 50 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้อง
                  มีการพัฒนาพื้นที่ปลูกยาสูบปัจจุบันที่เหลืออยู่ให้มีผลิตภาพสูงสุด โดยการยาสูบแห่งประเทศไทยมีการ
                  ควบคุมดูแลและส่งเสริมชาวไร่ยาสูบในการพัฒนาคุณภาพใบยา โดยใช้ระบบการปฏิบัติด้านเกษตรกรรม

                  ที่ดี (Good Agricultural Practices : GAP) สร้างความเข้มแข็งและบูรณาการร่วมกันของห่วงโซ่อุปทาน
                  ตลอดจนดูแลและพัฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรผู้ปลูกยาสูบ โดยค านึงถึงความปลอดภัยของผู้บริโภค






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ                               กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
   10   11   12   13   14   15   16   17   18   19   20