Page 22 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ
P. 22
2-4
2.2.3 ปริมาณน ้าฝน
จากข้อมูลสถานีตรวจอากาศกรมอุตุนิยมของปี พ.ศ. 2531 - 2560 น ามาพิจารณาเป็น
ตัวแทนลักษณะภูมิอากาศ ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้
ปริมาณน้ าฝนในแต่ละพื้นที่เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล
จากข้อมูลสถิติสภาพภูมิอากาศดังแสดงในตารางที่ 2-1 2-2 2-3 2-4 และ 2-5
ปริมาณน้ าฝนรวมเฉลี่ยตลอดปีของแต่ละภาคนั้นจะเลือกจังหวัดที่มีการปลูกยาสูบมากที่สุด
ในแต่ละภาคมาเป็นตัวแทน ดังรายละเอียดต่อไปนี้ ภาคเหนือโดยให้จังหวัดสุโขทัยเป็นตัวแทน มีปริมาณ
น้ าฝน 1,303.3 มิลลิเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้จังหวัดหนองคายเป็นตัวแทนมีปริมาณน้ าฝน
1,432.5 มิลลิเมตร ภาคกลางให้จังหวัดกาญจนบุรีเป็นตัวแทนมีปริมาณน้ าฝน 1,244.6 มิลลิเมตร
ภาคตะวันออกจังหวัดจันทบุรีเป็นตัวแทนมีปริมาณน้ าฝน 1,796.2 มิลลิเมตร ภาคใต้ให้จังหวัด
นครศรีธรรมราช เป็นตัวแทนมีปริมาณน้ าฝน 2,262.9 มิลลิเมตร ปริมาณน้ าฝนในแต่ละพื้นที่
เปลี่ยนแปลงไปตามลักษณะภูมิประเทศนอกเหนือจากการผันแปรตามฤดูกาล ประเทศไทยตอนบน
ปรกติจะแห้งแล้งและมีฝนน้อยในฤดูหนาว เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนปริมาณน้ าฝนจะเพิ่มขึ้นบ้างพร้อมทั้งพายุฟ้า
คะนอง และเมื่อเข้าสู่ฤดูฝนปริมาณฝนจะเพิ่มขึ้นมากโดยจะมีปริมาณน้ าฝนมากที่สุดในเดือนสิงหาคม
หรือเดือนกันยายน พื้นที่ที่มีปริมาณน้ าฝนมากส่วนใหญ่จะอยู่ด้านหน้าทิวเขาหรือด้านรับลมมรสุม
ตะวันตกเฉียงใต้ ส่วนพื้นที่ที่มีฝนน้อยส่วนใหญ่อยู่ด้านหลังเขา ส าหรับภาคใต้มีฝนตกชุกเกือบตลอดปี
2.2.4 ความชื นสัมพัทธ์
ความชื้นสัมพัทธ์ของอากาศเป็นอัตราส่วนของจ านวนไอน้ าที่มีอยู่ในอากาศต่อจ านวนไอน้ า
ที่อาจมีได้จนอิ่มตัวเต็มที่ในอากาศเดียวกันนั้น ความชื้นสัมพัทธ์จึงก าหนดเป็นเรือนร้อยโดยให้จ านวน
ความชื้นที่อิ่มตัวเต็มที่เป็น 100 ส่วน ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อนใกล้เส้นศูนย์สูตรจึงมีอากาศร้อนชื้น
ปกคลุมเกือบตลอดปี ความชื้นสัมพัทธ์เฉลี่ยตลอดปีแต่ละภาคมีค่าดังนี้ ภาคเหนือ 75 เปอร์เซ็นต์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 73.9 เปอร์เซ็นต์ ภาคกลาง 74 เปอร์เซ็นต์ ภาคตะวันออก 76.7 เปอร์เซ็นต์
และภาคใต้ 81.4 เปอร์เซ็นต์
2.2.5 อุณหภูมิ
ประเทศไทยตั้งอยู่ในเขตร้อน สภาวะอากาศโดยทั่วไปจึงร้อนอบอ้าวเกือบตลอดปี
อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปีของประเทศไทยมีค่าประมาณ 27 องศาเซลเซียส อย่างไรก็ตามอุณหภูมิจะ
มีความแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และฤดูกาล พื้นที่ที่อยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดินบริเวณตั้งแต่ภาคกลาง
และภาคตะวันออกตอนบนขึ้นไปจนถึงภาคเหนือจะมีอุณหภูมิแตกต่างกันมากระหว่างฤดูร้อนกับ
ฤดูหนาว และระหว่างกลางวันกับกลางคืน ส าหรับพื้นที่ซึ่งอยู่ติดทะเล ได้แก่ ภาคตะวันออกตอนล่าง
และภาคใต้ ความผันแปรของอุณหภูมิในช่วงวันและฤดูกาลจะน้อยกว่า โดยฤดูร้อนอากาศไม่ร้อนจัด
และฤดูหนาวอากาศไม่หนาวจัดเท่าพื้นที่ซึ่งอยู่ลึกเข้าไปในแผ่นดิน
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจยาสูบ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน