Page 9 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
P. 9

บทสรุปผู้บริหาร



                        กล้วยไข่เป็นผลไม้เมืองร้อนที่สามารถพบได้ทั่วไป โดยส่วนใหญ่พบได้ในจังหวัด

                  จันทบุรี ตาก เพชรบุรี กาญจนบุรี และชุมพร ตามล าดับ ในปี 2554 มีเนื้อที่ให้ผลทั้งประเทศ

                  32,290 ไร่ ผลผลิตรวม 89,900 ตัน ซึ่งผลผลิตที่ได้เพื่อการบริโภคภายในประเทศ

                  และส่งออกท ารายได้กลับเข้ามาสู่ประเทศ ประเทศไทยส่งออกกล้วยไข่ในรูปของผลสด

                  เป็นปริมาณมากถึง 15,503 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 103.85 ล้านบาท ประเทศคู่ค้าที่ส าคัญ

                  ได้แก่ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน

                  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เป็นต้น อย่างไรก็ตาม

                  ตลาดส่งออกกล้วยไข่ยังมีความต้องการอีกมาก (ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร, 2555)

                        จากการส ารวจของกรมพัฒนาที่ดิน (2555) พบว่า การผลิตกล้วยไข่ของประเทศไทย

                  ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 1,903 กิโลกรัม  รายได้/มูลค่าผลผลิตไร่ละ 37,361 บาท  ต้นทุนทั้งหมด

                  ไร่ละ 14,579 บาท  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด (ผลตอบแทนสุทธิ) ไร่ละ 22,782 บาท

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ 2.56  เมื่อท าการเปรียบเทียบต้นทุน รายได้ และ

                  ผลตอบแทนการผลิตกล้วยไข่ตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่ พบว่า มีต้นทุนการผลิต

                  ไร่ละ 13,935-15,736 บาท  ต้นทุนผันแปรไร่ละ 12,442-14,319 บาท โดยพื้นที่ที่มีระดับ

                  ความเหมาะสมปานกลาง (S2) มีต้นทุนทั้งหมดและต้นทุนผันแปรสูงที่สุด รองลงมาเป็นพื้นที่

                  ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) และเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ตามล าดับ  ผลผลิต

                  ผลตอบแทน และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเป็นไปตามระดับความเหมาะสมของพื้นที่


                  กล่าวคือ พื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมสูง (S1) ได้ผลผลิตเฉลี่ยไร่ละ 2,560 กิโลกรัม
                  ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดไร่ละ 35,310 บาท  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด


                  เท่ากับ 3.36 รองลงมาเป็นพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมปานกลาง (S2) และเหมาะสม
                  เล็กน้อย (S3) ตามล าดับ


                        การก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่เป็นแนวทางหนึ่งที่ท าให้มีการปลูก

                  กล้วยไข่ในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมทั้งทางกายภาพ เศรษฐกิจ และสังคม น าไปสู่การผลิต

                  กล้วยไข่ที่ได้คุณภาพมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล รวมถึงสามารถน าเขตการใช้ที่ดิน

                  ไปปรับใช้ให้เหมาะสมในแต่ละพื้นที่ เพื่อการวางแผนการผลิต การตลาด และ






                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่                          ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   4   5   6   7   8   9   10   11   12   13   14