Page 12 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
P. 12
1-2
จากเหตุผลดังกล่าวจะเห็นได้ว่ากล้วยไข่เป็นพืชที่มีความส าคัญชนิดหนึ่ง จึงได้จัดท าเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ขึ้นเพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลหนึ่งในการบริหารจัดการที่เหมาะสม รวมไปถึง
อุตสาหกรรมต่อเนื่องที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินได้ให้ความส าคัญกับลักษณะ
ทางกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้น าไปใช้ประโยชน์ต่อไป
1.2 วัตถุประสงค์
เพื่อก าหนดบริเวณการใช้ที่ดินที่เหมาะสม มีศักยภาพ ครอบคลุมทั้งด้านกายภาพ เศรษฐกิจและสังคม
1.3 ขอบเขตกำรด ำเนินงำน
1.3.1 ระยะเวลาด าเนินงาน ตุลาคม 2554 ถึง กันยายน 2555
1.3.2 ขอบเขตพื้นที่ศึกษา พื้นที่เกษตรกรรมทั้งประเทศ
1.3.3 พืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ เพื่อการบริโภคภายในประเทศและการส่งออก
1.4 ขั้นตอนและวิธีด ำเนินงำน
1.4.1 กำรรวบรวมข้อมูลทั่วไป
ข้อมูลทุติยภูมิที่น ามาใช้เป็นข้อมูลเบื้องต้นในการศึกษาและวิเคราะห์ก าหนดเขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ ประกอบด้วยข้อมูลเชิงอรรถาธิบายและข้อมูลเชิงพื้นที่ ดังนี้
1) ข้อมูลเชิงอรรถาธิบาย ได้แก่ ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น สภาพภูมิประเทศ
สภาพภูมิอากาศ ทรัพยากรที่ดิน ทรัพยากรน ้า ทรัพยากรป่าไม้ การใช้ประโยชน์ที่ดิน สภาพแวดล้อม
ที่เหมาะสม วิธีการปลูกและดูแลรักษา สถิติพื้นที่เพาะปลูก สถิติผลผลิตและการค้า ต้นทุนการเพาะปลูก
ข้อมูลด้านการตลาดและการส่งออก การแปรรูปและการใช้ประโยชน์ผลิตภัณฑ์ รวมถึงนโยบายรัฐบาล
และแผนพัฒนาต่างๆ จากหน่วยงานราชการทั้งในและนอกสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตลอดจน
องค์กรต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร ส านักงานเศรษฐกิจการเกษตร
ส านักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กรมการค้าภายใน กรมศุลกากร
กรมการปกครอง และกรมอุตุนิยมวิทยา เป็นต้น
2) ข้อมูลเชิงพื้นที่ ได้แก่ ข้อมูลที่แสดงในรูปแผนที่ต่างๆ เช่น แผนที่สภาพภูมิประเทศ
และขอบเขตการปกครอง แผนที่หน่วยที่ดิน แผนที่สภาพการใช้ประโยชน์ที่ดิน แผนที่ป่าสงวนแห่งชาติ
แผนที่อุทยานแห่งชาติ แผนที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และแผนที่เขตปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตร เป็นต้น
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน