Page 10 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
P. 10
(8)
อุตสาหกรรมต่อเนื่องต่างๆ โดยการก าหนดเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่มีเงื่อนไขหลัก
คือ ต้องเป็นพื้นที่เกษตรกรรมนอกเขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย (เขตพื้นที่ป่าไม้ตามกฎหมาย
ได้แก่ ป่าสงวนแห่งชาติ เขตอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า) และเป็นพื้นที่ที่มี
การปลูกกล้วยไข่อยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งพื้นที่ที่มีความเหมาะสมส าหรับการปลูกกล้วยไข่
ซึ่งแบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ ชั้นที่มีความเหมาะสมสูง (S1) ชั้นที่มีความเหมาะสมปานกลาง (S2)
และชั้นที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) สามารถแบ่งเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
ได้เป็น 3 เขต คือ เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I) เขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสม
ปานกลาง (Z-II) และเขตการใช้ที่ดินที่มีความเหมาะสมน้อย (Z-III) มีเนื้อที่ 16,781
8,431 และ 27,120 ไร่ (หรือร้อยละ 32.07 16.11 และ 51.82 ของเนื้อที่เขตการใช้ที่ดิน
พืชเศรษฐกิจกล้วยไข่) และมีผลผลิตคาดการณ์ 49,313 13,144 และ 75,502 ตัน ตามล าดับ
พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ ตามล าดับ โดย
จังหวัดจันทบุรีเป็นจังหวัดที่มีเนื้อที่ในเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่มากที่สุด พื้นที่
ที่มีศักยภาพในล าดับต้นเป็นเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ที่มีความเหมาะสมมาก (Z-I)
ให้มีมาตรการด้านการผลิตในการผลิตกล้วยไข่ เน้นการผลิตตามระบบ GAP (Good Agricultural
Practice) GMP (Good Manufacturing Practice) และ HACCP (Hazard Analysis and Critical
Control Points) เพื่อให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล มาตรการด้านการแปรรูปในการผลิตสินค้า
ให้หลากหลายรูปแบบ เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภคในทุกเพศทุกวัย มาตรการ
ด้านการตลาดในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ เพื่อกระจายผลผลิตให้ถึงมือผู้บริโภคได้อย่างรวดเร็ว
ด้านการขยายตลาดส่งออกทั้งในตลาดเดิมและตลาดใหม่ เพื่อกระจายผลผลิตไปสู่ทุก
ภูมิภาคของโลก
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่ ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน