Page 11 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่
P. 11

บทที่ 1

                                                         บทน ำ



                  1.1  หลักกำรและเหตุผล

                        กล้วยเป็นผลไม้ใกล้ตัวที่มีให้รับประทานได้ทั้งดิบและสุก แต่ส่วนใหญ่นิยมรับประทานผลสุก

                  มากกว่าเนื่องจากมีรสหวานและอุดมไปด้วยน ้าตาลธรรมชาติ 3 ชนิด คือ ฟรักโทส ซูโครส และกลูโคส
                  กล้วยสุกมีคุณสมบัติเฉพาะด้าน คือ มีฤทธิ์เป็นกรดในล าไส้ ช่วยให้เกลือแร่และแคลเซียมถูกดูดซึมได้ง่าย

                  ถือว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษที่ดีกว่าจากธัญพืชอื่นๆ โดยกล้วยสุก 1 ผล มีคาร์โบไฮเดรต 22 เปอร์เซ็นต์

                  มีสารอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งโพแทสเซียมในปริมาณสูง ซึ่งเป็นเกลือแร่ที่มีความส าคัญต่อร่างกาย

                  ช่วยท าให้ระบบประสาทและกล้ามเนื้อท างานได้ดี และยังช่วยในการท างานของสมอง ท าให้สมอง
                  ได้รับออกซิเจนมากขึ้น นอกจากนี้ยังอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหาร เช่น วิตามินเอ วิตามินบี 2 บี 6

                  และบี 10 วิตามินซี โปรตีน แคลเซียม แมกนีเซียม โซเดียม เหล็ก ทองแดง เป็นต้น กล้วยจึงเป็นผลไม้

                  ที่ไม่ควรมองข้าม ซึ่งกล้วยทุกชนิดดีต่อสุขภาพแต่กล้วยไข่ดีเป็นพิเศษ โดยกล้วยไข่ให้พลังงานมากที่สุด
                  ในบรรดากล้วยทุกชนิด คือ 140 แคลอรี จากปริมาณ 100 กรัมที่รับประทาน ทั้งยังอุดมไปด้วยสารต้าน

                  อนุมูลอิสระ คือ เบต้าแคโรทีน มากที่สุดซึ่งมีถึง 492 มิลลิกรัม สูงกว่ากล้วยหอมประมาณ 5 เท่า

                  ขณะที่กล้วยน ้าว้ามีเพียง 9 ไมโครกรัม นอกจากนั้นในเนื้อกล้วยไข่ยังมีไฟเบอร์ชนิดไม่ละลายน ้าสูง
                  ซึ่งกล้วยไข่ 1 ผล มีเส้นใยอาหารที่ไม่ละลายน ้าถึง 16 กรัม ช่วยแก้ปัญหาท้องผูก กล้วยไข่มีน ้าตาล

                  และคาร์โบไฮเดรตอยู่พอสมควร จึงไม่เหมาะส าหรับผู้ที่ต้องการลดน ้าหนัก

                        แหล่งปลูกกล้วยไข่ที่เหมาะสมควรเป็นพื้นที่ดอนหรือพื้นที่ราบที่ไม่มีน ้าท่วมขัง มีความสูงจาก
                  ระดับทะเลไม่เกิน 1,200 เมตร มีแหล่งน ้าธรรมชาติใช้เพียงพอตลอดฤดูปลูก หรืออยู่ในเขตชลประทาน

                  รวมถึงมีการคมนาคมที่สะดวก ลักษณะดินเป็นดินร่วน ดินร่วนเหนียว หรือดินร่วนปนทราย มีความ

                  อุดมสมบูรณ์สูง การระบายน ้าดี ระดับน ้าใต้ดินลึกมากกว่า 75 เซนติเมตร ความเป็นกรดเป็นด่างของดิน

                  5.0-7.0 ส่วนสภาพภูมิอากาศควรมีอุณหภูมิระหว่าง 25-35 องศาเซลเซียส ปริมาณน ้าฝนไม่น้อยกว่า
                  1,200 มิลลิเมตรต่อปี ไม่มีลมแรงพัดผ่านเป็นประจ า และมีแสงแดดจัด

                        กล้วยไข่เป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันทั่วไป เนื่องจากมีรสชาติดี ลักษณะการเรียงตัวของผลและ

                  สีผลสวยสะดุดตา ปัจจุบันมีการส่งออกไปจ าหน่ายยังต่างประเทศมากขึ้น โดยตลาดที่ส าคัญ คือ
                  เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐประชาธิปไตย

                  ประชาชนลาว และสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี กล้วยไข่เป็นพืชที่สามารถปลูกได้แทบทุกภาคของ

                  ประเทศ ในพื้นที่ปลูกที่มีการจัดการการผลิตเพื่อให้ได้ทั้งปริมาณและผลผลิตตรงตามมาตรฐาน

                  คุณภาพและตลาดต้องการ (กรมวิชาการเกษตร, 2551)





                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจกล้วยไข่                          ส านักส ารวจดินและวางแผนการใช้ที่ดิน
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16