Page 162 - durian
P. 162

4-4







                         ภำคใต้ ก าหนดให้เป็นเขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทุเรียน 598,223 ไร่ ในพื้นที่ 13 จังหวัด
                  (ตารางที่ 4-6 และรูปที่ 4-36) ประกอบด้วย 3 เขตการใช้ที่ดิน มีรายละเอียดดังนี้

                   เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมมาก (Z-I)                         มีเนื้อที่   436,381  ไร่

                   เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมปานกลาง (Z-II)                    มีเนื้อที่   62,509  ไร่
                   เขตการใช้ที่ดินเหมาะสมน้อย (Z-III)                      มีเนื้อที่   99,333  ไร่

                        จากข้อมูลรายภาคสามารถแสดงการกระจายของเขตการใช้ที่ดินในระดับต่าง ๆ รายจังหวัดใน

                  รูปที่ 4-37 ถึง 4-49

                  4.3  รูปแบบกำรพัฒนำพื้นที่ในเขตกำรใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทุเรียน
                      รูปแบบการพัฒนาพื้นที่เป็นแนวทางหนึ่งของการจัดการพื้นที่ในแต่ละเขตการใช้ที่ดินที่ถูก

                  ก าหนดขึ้นเนื่องจากในแต่ละเขตมีจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค ทางกายภาพ เศรษฐกิจและ

                  สังคมที่แตกต่างกัน จากผลการศึกษาพบว่า เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจทุเรียน ที่จัดท าขึ้นเป็น 3 เขตการ

                  ใช้ที่ดิน คือ เหมาะสมมาก เหมาะสมปานกลาง และเหมาะสมน้อย การน าเขตการใช้ที่ดินดังกล่าวข้างต้น
                  ไปสู่การปฏิบัติต้องมีการก าหนดรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละเขตการใช้ที่ดินอย่างเป็นรูปธรรม

                  ซึ่งรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ในแต่ละเขตการใช้ที่ดินมีรายละเอียดดังนี้

                      เขตเหมำะสมมำก ใช้สัญลักษณ์ Z-I

                      เขตนี้เป็นเขตที่ปลูกทุเรียนในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมสูง (S1) โดยไม่พบข้อจ ากัดตามปัจจัยที่ใช้
                  พิจารณา และเหมาะสมปานกลาง (S2) พบว่ามีข้อจ ากัดตามปัจจัยที่ใช้พิจารณาที่แก้ไขได้ง่าย ส่วนใหญ่เป็น

                  ลักษณะทางเคมี ซึ่งรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ในเขตนี้ประกอบด้วย

                      - สนับสนุนการใช้ปุ๋ ย สารปราบศัตรูพืชและวัชพืชในรูปแบบของสารชีวภาพแทนสารเคมี
                  เนื่องจากสารเคมีจะตกค้างในดินและแหล่งน ้าตามธรรมชาติ ท าให้ส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมใน

                  ด้านต่าง ๆ ดินเกิดความเสื่อมโทรม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปนเปื้อนของสารเคมีลงสู่ดินและแหล่งน ้า

                  ตามธรรมชาติ นอกจากนี้ปุ๋ ยชีวภาพยังช่วยในเรื่องของการปรับสภาพโครงสร้างของดินให้ดีขึ้นอีกด้วย
                      - สนับสนุนด้านการกระจายน ้าในแปลงปลูกอย่างครบวงจรและเหมาะสมกับความต้องการกับ

                  ช่วงการเจริญเติบโตของทุเรียน โดยเฉพาะในช่วงติดดอกและติดผล

                      - ในกรณีใส่ปุ๋ ยตามค่าวิเคราะห์ดิน ส่งเสริมการใช้ปุ๋ ยชีวภาพเพื่อช่วยในส่วนของการปรับสภาพ
                  โครงสร้างของดินให้มีโครงสร้างที่ดีส่งผลต่อการลงหัวของทุเรียน

                      เขตเหมำะสมปำนกลำง ใช้สัญลักษณ์ Z-II

                      เขตนี้เป็นเขตที่ปลูกทุเรียนในที่ดินที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) ซึ่งการปลูกทุเรียนในเขตนี้ติด

                  ข้อจ ากัดด้านที่ดินบางประการที่มีข้อจ ากัดที่แก้ไขได้ยาก ส่วนใหญ่เป็นลักษณะทางกายภาพ ดังนั้น
                  รูปแบบการพัฒนาพื้นที่ในเขตนี้ได้แก่
   157   158   159   160   161   162   163   164   165   166   167