Page 42 - coffee
P. 42

2-24






                             กลุมชุดดินที่ 25

                             เปนกลุมชุดดินที่เกิดจากวัตถุตนกําเนิดดินพวกตะกอนน้ําพาหรือจากการสลายตัวผุพัง

                  อยูกับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแลวถูกเคลื่อนยายมาทับถมของวัสดุเนื้อหยาบวางทับอยูบนชั้นหินผุ

                  พบในบริเวณที่ราบเรียบหรือคอนขางราบเรียบ มีน้ําแชขังในชวงฤดูฝน เปนดินตื้นที่มีการระบายน้ํา
                  คอนขางเลว มีเนื้อดินบนเปนพวกดินรวนปนทรายหรือดินรวน สวนดินชั้นลางเปนดินเหนียวหรือ

                  ดินรวนปนดินเหนียวที่มีกรวดหรือลูกรังปะปนเปนปริมาณมากภายในความลึก 50 เซนติเมตร ดินมี

                  สีน้ําตาลออนถึงสีเทา และพบจุดประพวกสีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดงปะปน ใตชั้นลูกรังอาจพบ
                  ชั้นดินเหนียวที่มีศิลาเเลงออนปะปน ดินมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติต่ํามาก มีปฏิกิริยาดินเปน

                  กรดจัดมากถึงกรดจัด  มีคาความเปนกรดเปนดางประมาณ 4.5-5.5  กลุมชุดดินที่คลายคลึงกับ

                  กลุมชุดดินที่ 25  ไดแก  25B  เปนดินที่พบในพื้นที่มีความลาดชัน 2-5 เปอรเซ็นต

                      -  ปญหาในการใชที่ดินดานเกษตรกรรม  ไดแก  เปนดินตื้นมีความอุดมสมบูรณต่ํา  และ
                  มีโอกาสที่จะขาดน้ําไดงายในชวงฤดูเพาะปลูก บางแหงมีเนื้อดินบนคอนขางเปนทราย

                          -  ตัวอยางชุดดินในกลุมชุดดินนี้ เชน ชุดดินกันตรัง (Kat) ชุดดินอน (On) ชุดดินเพ็ญ

                  (Pn) ชุดดินพยอมงาม (Pym) ชุดดินสะทอน (Stn) ชุดดินทุงคาย (Tuk) และชุดดินยานตาขาว (Yk)

                             กลุมชุดดินที่ 26

                             เปนกลุมชุดดินที่พบในเขตฝนตกชุก เชน ภาคใต ภาคตะวันออก วัตถุตนกําเนิดดิน

                  เกิดการสลายตัวผุพังอยูกับที่หรือจากการสลายตัวผุพังแลวถูกเคลื่อนยายมาทับถมของวัสดุเนื้อละเอียด

                  ที่มาจากหินตนกําเนิดชนิดตางๆ ทั้งหินอัคนี หินตะกอนหรือหินแปร พบบริเวณพื้นที่ดอนมีลักษณะ
                  เปนลูกคลื่นจนถึงพื้นที่เนินเขา เปนดินลึกมาก มีการระบายน้ําดี เนื้อดินเปนพวกดินเหนียว สีดินเปน

                  สีน้ําตาล สีเหลืองหรือสีแดง ดินมีความอุดมสมบูรณตามธรรมชาติปานกลางถึงคอนขางต่ํา ปฏิกิริยาดิน

                  เปนกรดจัดมากถึงกรดจัด  มีคาความเปนกรดเปนดางประมาณ 4.5-5.5  กลุมชุดดินที่คลายคลึงกับ
                  กลุมชุดดินที่ 26  ไดแก  26B  เปนดินที่พบในพื้นที่มีความลาดชัน 2-5 เปอรเซ็นต  26C  เปนดินที่พบ

                  ในพื้นที่มีความลาดชัน 5-12 เปอรเซ็นต  26D  เปนดินที่พบในพื้นที่มีความลาดชัน 12-20 เปอรเซ็นต

                  และ 26E  เปนดินที่พบในพื้นที่มีความลาดชัน 20-35 เปอรเซ็นต
                      -  ปญหาในการใชที่ดินดานเกษตรกรรม  ไดแก บางบริเวณอาจพบดินมีความอุดม-

                  สมบูรณต่ํา  ในบริเวณพื้นที่ที่มีความลาดชันและเนื้อดินบนมีทรายปนจะมีอัตราเสี่ยงตอการชะลาง

                  พังทลายของดินสูง หากมีการจัดการดินไมเหมาะสม













                  เขตการใชที่ดินพืชเศรษฐกิจกาแฟ                     สํานักนโยบายและแผนการใชที่ดิน  กรมพัฒนาที่ดิน
   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46   47