Page 59 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว 2566
P. 59

3-3






                  3.2  การวิเคราะห์ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม

                        มะพร้าวเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย มีการปลูกอย่างแพร่หลายในหลายพื้นที่
                  ซึ่งมะพร้าวสามารถใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ทั้งเนื้อ น้ำ กะทิ น้ำมัน เส้นใย เป็นต้น ทั้งนี้การวิเคราะห์

                  ข้อมูลด้านเศรษฐกิจและสังคม ตลอดจนการคำนึงถึงต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตมะพร้าว จึงเป็น
                  สิ่งสำคัญในการจัดการและวางแผนการผลิตมะพร้าวอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความคุ้มค่าในระยะยาว
                  ให้เกษตรกรในประเทศไทย อีกทั้งการเรียนรู้และการปรับตัวตามสถานการณ์ตลาดยังเป็นสิ่งสำคัญ
                  เพื่อนำไปสู่การประสบความสำเร็จในการผลิตมะพร้าวอย่างยั่งยืน

                        จากการสำรวจและรวบรวมข้อมูลต้นทุนและผลตอบแทนในการผลิตมะพร้าวผลแก่ ในช่วง 10 ปี
                  ที่ผ่านมา ระหว่างปี 2556-2565 เพื่อนำมาวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทน (Cost-Benefit Analysis: CBA)
                  และวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return On Investment : ROI) ซึ่งเป็นเครื่องมือทาง
                              ื่
                  การเงินที่ใช้เพอประเมินความคุ้มค่าของการลงทุนหรือโครงการ โดยพิจารณาถึงต้นทุนและผลตอบแทน
                  ของการลงทุนนั้น ๆ แล้วนำผลที่ได้มาช่วยในการตัดสินใจว่าควรลงทุนหรือดำเนินโครงการนั้นหรือไม่
                  โดยสถานการณ์ด้านต้นทุนการผลิต ผลตอบแทนสุทธิ และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return
                  On Investment : ROI) ของมะพร้าวผลแก่ ในช่วง 10 ปี ที่ผ่านมา ระหว่างปี 2556-2565 พบว่า
                  ต้นทุนการผลิต เพิ่มขึ้นจาก 3,401.86 บาทต่อไร่ ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 5,978.70 บาทต่อไร่ ในปี

                  2565 หรืออัตราการเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.60 ในส่วนของผลตอบแทนสุทธิและอัตรา
                  ผลตอบแทนจากการลงทุนลดลงในทิศทางเดียวกัน โดยผลตอบแทนสุทธิ เพิ่มขึ้นจาก 2,118.76 บาทต่อไร่
                  ในปี 2556 เพิ่มขึ้นเป็น 2,694.51 บาทต่อไร่ ในปี 2565 อย่างไรก็ตามโดยภาพรวม 10 ปี มีอัตราการ

                  เปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 0.15 และอัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (Return On Investment : ROI)
                  ลดลงจากร้อยละ 62.28 ในปี 2556 ลดลงเหลือร้อยละ 45.07 ในปี 2565 หรืออัตราการเปลี่ยนแปลง
                  ลดลงร้อยละ 5.44 (ตารางที่ 3-2)
                        อย่างไรก็ตาม ต้นทุนและผลตอบแทนจากการปลูกมะพร้าวอาจแตกต่างกันไปตามปัจจัยต่าง ๆ
                  เช่น สภาพพื้นที่ การจัดการสวน คุณภาพผลผลิต เป็นต้น เกษตรกรควรศึกษาข้อมูลต่าง ๆ อย่าง

                  รอบคอบก่อนตัดสินใจลงทุนปลูกมะพร้าว เพื่อให้สามารถประเมินความคุ้มค่าในการลงทุนได้อย่าง
                  เหมาะสมต่อไป




























                  เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจมะพร้าว                      กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64