Page 39 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้
P. 39
3-5
การระบายน้ าปานกลาง (o) ค่าความจุแลกเปลี่ยนแคตไอออนปานกลางถึงต่ า (n) และดิน
มีความอุดมสมบูรณ์ต่ า (s)
พื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย (S3) มีเนื้อที่รวม 27,478,992 ไร่ โดยภาคเหนือ มีเนื้อ
ที่ 8,663,346 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเนื้อที่ 7,848,688 ไร่ ภาคกลาง มีเนื้อที่ 3,778,693 ไร่
ภาคตะวันออก มีเนื้อที่ 4,688,675 ไร่ และภาคใต้ มีเนื้อที่ 2,499,590 ไร่ ดินที่มีความเหมาะสม
เล็กน้อยต่อการเพาะปลูก สภาพพื้นที่เป็นเนินเขา (ความลาดชัน 20-35 เปอร์เซ็นต์) การระบายน้ า
เลวมาก เป็นดินตื้น (น้อยกว่า 25-50 เซนติเมตร) เนื้อดินเป็นดินเหนียวแน่นทึบปนกรวด ดินเป็นกรด
รุนแรงมากและเป็นด่างปานกลาง พบจาโรไซต์ที่ระดับความลึก 50-100 เซนติเมตร มีปริมาณเกลือใน
ดินปานกลาง (ค่าการน าไฟฟ้าของดิน 4-8 เดซิซีเมนต่อเมตร)
ในพื้นที่ที่มีระดับความเหมาะสมเล็กน้อย หน่วยที่ดินที่พบมากที่สุดในพื้นที่ คือ หน่วยที่ดินที่ 49B
ชุดดินปลาปากที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนเหนียว ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ (Ppk-clB)
ชุดดินปลาปากที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนเหนียวปนกรวด ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ (Ppk-gclB)
ชุดดินโพนพิสัยที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ (Pp-gslB)
ชุดดินโพนพิสัยที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ (Pp-slB) ชุดดิน
หนองบัวแดงที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทราย ความลาดชัน 2-5 เปอร์เซ็นต์ (Nbd-slB) หน่วยที่ดินที่
48D เช่น ชุดดินท่ายางที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์
(Ty-gslD) ชุดดินแม่ริมที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนทรายปนกรวด ความลาดชัน 12-20 เปอร์เซ็นต์
(Mr-gslD) หน่วยที่ดินที่ 45C เช่น ชุดดินคลองซากที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วนปนเหนียวปนกรวด
ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ (Kc-gclC) และหน่วยที่ดินที่ 47C เช่น ชุดดินลี้ที่มีเนื้อดินบนเป็นดินร่วน
เหนียวปนกรวด ความลาดชัน 5-12 เปอร์เซ็นต์ (Li-gclC) เป็นต้น
ข้อจ ากัดในการใช้ประโยชน์ที่ดินในพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อย คือ เสี่ยงต่อความ
เสียหายจากการกร่อนดิน (e) เป็นดินตื้น (r) บางบริเวณมีปริมาณเกลือในดินปานกลาง (x)
การระบายน้ าเลวมาก (o)
จากข้อมูลคุณภาพที่ดินของหน่วยที่ดินจับคู่กับระดับความต้องการปัจจัยต่อการเจริญเติบโต
ของโกโก้ (ตารางที่ 3-1) น ามาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมภูมิสารสนเทศภูมิศาสตร์ ได้แผนที่
ความเหมาะสมของดินส าหรับพืชเศรษฐกิจโกโก้ (รูปที่ 3-1 ถึง 3-14) ซึ่งจากข้อมูลสถานการณ์การผลิต
โกโก้ของประเทศไทย (กรมส่งเสริมการเกษตร, 2565) พบว่า มีพื้นที่ปลูกโกโก้เพิ่มขึ้นในทุกภูมิภาค โดย
แหล่งปลูกส่วนใหญ่อยู่ในภาคเหนือ ได้แก่ จังหวัดเชียงราย พิษณุโลก ล าปาง และเพชรบูรณ์ รองลงมา
เป็นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ภาคตะวันออก ได้แก่
จังหวัดตราด และจันทบุรี ภาคใต้ ได้แก่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พัทลุง นครศรีธรรมราช และสงขลา และ
ภาคกลาง ได้แก่ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นต้น
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้ กองนโยบายและวางแผนการใช้ที่ดิน