Page 32 - เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้
P. 32
2-20
2.6.2 การตลาด
การปลูกโกโก้ในปัจจุบันเกษตรกรส่วนใหญ่จะท าสัญญาซื้อขายผลผลิตกับบริษัทแปรรูป
ซึ่งจะมีราคาประกันขั้นต่ า โดยบริษัทแปรรูปจะส่งเสริมการปลูก และเป็นลักษณะเกษตรพันธสัญญา เมื่อ
ซื้อต้นพันธุ์แล้วจะรับซื้อผลผลิต ราคาที่รับซื้ออ้างอิงราคาตลาดโลก โดยบริษัทรับซื้อในรูปของผลสด
ราคาประกันขั้นต่ ากิโลกรัมละ 5 บาท แต่อาจได้ถึง 8-10 บาท ส าหรับเกษตรกรที่ไม่ได้ท าสัญญาซื้อขาย
กับบริษัทจะขายผลสดหรือเมล็ดแห้ง หรือผู้ประกอบการรายย่อยบางรายได้แปรรูปจากเมล็ดโกโก้แห้ง
เป็นผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเป็นผลิตภัณฑ์โอทอป (สถาบันวิจัยพืชสวน, 2564)
ราคาผลผลิต ในช่วงปีการผลิต 2554-2563 ราคาโกโก้ที่เกษตรกรขายได้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น
ร้อยละ 6.29 ต่อปี (ตารางที่ 2-5) ปีการผลิต 2562 เกษตรกรขายผลผลิตกิโลกรัมละ 31.78 บาท ลดลง
เหลือกิโลกรัมละ 14.64 บาท ในปีการผลิต 2562 หรือลดลงอัตราร้อยละ 6.29
ตารางที่ 2-4 พื้นที่ปลูก และผลผลิตรวมของโกโก้ จ าแนกรายภาค และแยกรายจังหวัด
10 ล าดับแรก ปี 2564
ภาค/จังหวัด พื้นที่ปลูก (ไร่) ผลผลิตรวม (กิโลกรัม)
รวมทั้งประเทศ 9,861.12 881,634.97
ภาคใต้ 3,458.75 211,260.00
ภาคเหนือ 3,133.37 35,674.97
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2,039.50 9,525.00
ภาคกลาง 702.50 4,882.00
ภาคตะวันออก 527.00 620,293.00
นครศรีธรรมราช 1,357.50 50,450.00
ขอนแก่น 1,125.00 7,550.00
พัทลุง 956.00 -
สุโขทัย 663.00 13,840.00
พิษณุโลก 619.50 6,000.00
ประจวบคีรีขันธ์ 428.00 98,450.00
พิจิตร 366.75 -
ตราด 318.00 2,100
เชียงราย 299.25 1,650
สุราษฎร์ธานี 288.75 -
ที่มา : กรมส่งเสริมการเกษตร, 2565
เขตการใช้ที่ดินพืชเศรษฐกิจโกโก้ กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน