Page 42 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 42
35
และ GNDVI มีค่าต่ าขณะที่ไม้ผลไม่มีการผลัดใบจึงท าให้ค่าไม่แตกต่างกันมากนักทั้ง 2 เดือน ซึ่งในเดือน
ธันวาคมซึ่งเป็นช่วงปลายฝนไม้ละเมาะยังมีน้ าเพียงพอในการเจริญเติบโต และส่วนใหญ่ไม้ละเมาะจะเป็น
ต้นไม้ขนาดใหญ่กว่าไม้ผลท าให้ค่า NDVI และ GNDVI สูงกว่าไม้ละเมาะ พืชที่มีอายุสั้นเช่น ผัก ข้าว และพืชไร่
โดยทั่วไปจะมีค่าดัชนี NDVI และ GNDVI ต่ ากว่าไม้ยืนต้น เกิดจากเป็นต้นไม้ที่มีขนาดเล็กมีใบน้อยท าให้
การดูดซับคลื่อนแม่เหล็กไฟฟ้าน้อย แต่อย่างไรก็ตามพบว่า นาข้าวมีค่า NDVI และ GNDVI ต่ าที่สุดในเดือน
มีนาคม ซึ่งเกิดจากช่วงนี้เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวเรียบร้อยแล้ว ซึ่งโดยทั่วไปพื้นที่ที่ไม่มีพืชปกคลุมหรือพืช
ปกคลุมน้อยจะมีค่าดัชนี NDVI และ GNDVI ต่ า และในท านองเดียวกัน พืชไร่จะมีค่าดัชนี NDVI และ GNDVI
ต่ าที่สุดในเดือนธันวาคมเนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่เก็บเกี่ยวอ้อยในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม
และปล่อยตอให้งอกขึ้นมาใหม่ซึ่งส่วนใหญ่จะเริ่มงอกใหม่ในเดือนมีนาคม โดยในปี 2564 โรงงานเริ่มเปิด
หีบอ้อยเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม 2564 เป็นต้นไป (ประชาชาติธุรกิจ, 2564)
การเปลี่ยนแปลงของค่า NDII ต่างจากค่า NDVI และ ค่า GNDVI โดยในเดือนมีนาคม ค่า NDII ของ
พืชไร่ นาข้าว ไม้ละเมาะ ผัก มีค่าต่ า ขณะที่ในเดือนธันวาคม พืชไร่ ผัก นาข้าว ไม้ผล มีค่าต่ า ทั้งนี้เกิดจาก
ดัชนี NDII เป็นดัชนีที่วัดการสะท้อนแสงโดยการหาค่าความแตกต่างระหว่างช่วงคลื่น near-infrared และ
ช่วงคลื่น shortwave infrared เป็นดัชนีที่มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ าในเรือนยอดของพืช
(Ji et al., 2011) สามารถใช้ตรวจจับความเครียดในน้ าของพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตามคุณสมบัติของ
การสะท้อนแสงอินฟราเรดคลื่นสั้น ซึ่งมีความสัมพันธ์เชิงลบกับปริมาณน้ าในใบ เนื่องจากการดูดซับปริมาณมาก
โดยใบไม้ ค่าดัชนีจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณน้ าที่เพิ่มขึ้น และเนื่องจากความไวนี้เพื่อปริมาณน้ าของพืช NDII
ให้ข้อมูลรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพพืชมากกว่า NDVI โดย NDII แสดงความสัมพันธ์สูงกับความชื้นในชั้น
ดินบนบริเวณราก (Ochoa et al., 2023) ซึ่งเห็นได้ว่าค่า NDII ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฝนจะมีค่าสูง
กว่าในเดือนมีนาคมฤดูแล้ง ซึ่งพื้นที่พืชไร่ นาข้าว ผัก เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกพืชน้อย เป็นช่วงหลังเก็บเกี่ยว
และไม้ละเมาะเป็นช่วงที่ต้นไม้ผลัดใบพื้นดินส่วนใหญ่แห้งเนื่องจากเป็นพืชที่ต้องอาศัยน้ าฝน แต่จะสูงกว่าในไม้ผล
ในเดือนธันวาคมเนื่องจากต้นไม้มีความหนาแน่นกว่า และมีใบที่ออกมาใหม่ยังไม่มีการร่วงสามารถเก็บความชื้น
ได้มากกว่า ไม้ผลซึ่งส่วนใหญ่ปลูกเป็น แถวมีพื้นที่ว่างเยอะกว่าความหนาแน่นของต้นพืชในพื้นที่น้อยกว่า