Page 45 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 45

38






                       4.3 การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีพืชพรรณกับสมบัติทางเคมีดิน
                               การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีพืชพรรณกับสมบัติทางเคมีดินท าโดยการน าค่าดัชนีพืช
                       พรรณ 3 ชนิด ได้แก่ ดัชนี NDVI ดัชนี GNDVI และดัชนี NDII ซึ่งค านวณจากข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม
                       Sentinel-2 ที่ถ่ายครอบคลุมอ าเภอก าแพงแสน อ าเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม และอ าเภอปากพลี จังหวัด

                       นครนายก 2 ช่วงเวลา ได้แก่เดือนมีนาคม 2564 และเดือนธันวาคม 2564 ซึ่งดาวน์โหลดผ่านกูเกิลเอิร์
                       ธเอนจิน เวปไซต์ https://code.earthengine.google.com/ โดยวิธีโมเสกภาพ (mosaic) ภาพที่ได้ถูก
                       ท าการสกัดค่าในระบบ GIS โดยใช้ขอบเขตแปลงที่เก็บตัวอย่างดิน จากนั้นท าการหาค่าเฉลี่ยตามประเภท
                       การใช้ที่ดิน 6 ประเภทแล้วน ามาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับค่าสมบัติทางเคมีดินที่เก็บตัวอย่างในเดือน

                       มีนาคม 2564 ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการน าไฟฟ้า และปริมาณอินทรียวัตถุ ที่ท าการเฉลี่ยตาม
                       ประเภทการใช้ที่ดิน 6 ประเภท ผลการวิเคราะห์มีรายละเอียดดังนี้
                               4.3.1 ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
                                     พบความสัมพันธ์ระหว่างค่าดัชนีพืชพรรณกับค่าความเป็นกรดเป็นด่างของดินจากข้อมูล

                       ภาพถ่ายทั้ง 2 เดือน (ตารางที่ 14) โดยข้อมูลภาพถ่ายในมีนาคม พบความสัมพันธ์ในระดับปานกลางทั้ง
                                                                                                            2
                       3 ดัชนี แต่อย่างไรก็ตามดัชนี NDII ที่ใช้โมเดลแบบ Exponential ให้ค่าความสัมพันธ์สูงที่สุดโดยมีค่า r
                       เท่ากับ 0.59 และ p-value เท่ากับ 0.08 ขณะที่ข้อมูลภาพถ่ายในธันวาคม มีเพียงดัชนี NDII พบ
                                                                                                            2
                       ความสัมพันธ์ในระดับปานกลางถึงค่อนข้างสูง เมื่อใช้โมเดลแบบ Logarithmic และ Power โดยมีค่า r
                       เท่ากับ 0.63 และ p-value เท่ากับ 0.60 ทั้งนี้จึงอาจเป็นไปได้ว่าข้อมูลภาพถ่ายดาวเทียม Sentinel-2
                       มีศักยภาพในการใช้ท าแบบจ าลองส าหรับประมาณค่าความเป็นกรดเป็นด่าง โดยความความสัมพันธ์ระหว่าง
                       ค่าดัชนี NDII กับ ค่า pH มีความสัมพันธ์เชิงลบ (ภาพที่ 7 และภาพที่ 8)  คือเมื่อค่า NDII สูงขึ้นค่า pH
                       มีแนวโน้มลดลง ซึ่งโดยทั่วไปค่าดัชนีพืชพรรณจะสามารถใช้จ าแนกปริมาณของพืชและสุขภาพของพืชที่ปก

                       คลุม และนอกจากนี้ความสัมพันธ์ของค่า NDII กับค่าค่าความเป็นกรดเป็นด่างอาจสัมพันธ์กับการปลูกพืชซึ่ง
                       ขึ้นอยู่กับลักษณะภูมิประเทศ และชุดดินซึ่งท าให้สมบัติดินเหมาะสมต่อการปลูกพืชที่ต่างกัน โดยพืชไร่ซึ่งมี
                       ค่า NDII ส่วนใหญ่ต่ า และค่าเฉลี่ยของค่าความเป็นกรดเป็นด่างสูง เกิดจากตัวอย่างดินที่เก็บส่วนใหญ่อยู่ใน

                       ชุดดินก าแพงแสน (Ks) ในอ าเภอก าแพงแสน ซึ่งเป็นชุดดินที่มีค่าความเป็นกรดเป็นด่างในชั้นดินบนอยู่ในช่วง
                       7.0-8.0 ปฏิกิริยาดินเป็นกลางถึงด่างอ่อน (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557ก) ขณะที่ไม้ยืนต้นมีค่า NDII สูงที่สุด จะมี
                       ค่าเฉลี่ยของ pH ต่ าที่สุด ส่วนใหญ่อยู่ในชุดดินแกลง (Kl) ซึ่งเป็นชุดดินที่มีปฏิกิริยาดินเป็นกรดจัดถึง
                       เป็นกรดปานกลาง (กรมพัฒนาที่ดิน, 2557ก) จึงอาจเป็นไปได้ว่าการประมาณค่าความเป็นกรดเป็นด่างโดยใช้

                       ค่า NDII อาจต้องค านึงถึงลักษณะของภูมิประเทศ ชุดดิน และชนิดของพืชที่ปกคลุม และดัชนี NDII แสดง
                       ความสัมพันธ์สูงกว่า ดัชนี NDVI และ ดัชนี GNDVI อาจเกิดจาก NDII สามารถตรวจจับความเครียดของพืช
                       ได้ดีกว่า (Ochoa et al., 2023)
   40   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50