Page 41 - การใช้ข้อมูลสำรวจระยะไกลเพื่อศึกษาความอุดมสมบูรณ์ของดินในพื้นที่เสี่ยง การเป็นดินกรดและดินเค็ม ภาคกลางของประเทศไทย
P. 41

34






                       ที่ดิน 6 ประเภทแล้วน ามาวิเคราะห์ความสัมพันธ์กับค่าสมบัติทางเคมีดินที่เก็บตัวอย่างในเดือนมีนาคม 2564
                       ได้แก่ ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง ค่าการน าไฟฟ้า และปริมาณอินทรียวัตถุ ที่ท าการเฉลี่ยตามประเภทการใช้
                       ที่ดิน 6 ประเภท ผลการวิเคราะห์มีรายละเอียดดังนี้ (ตารางที่ 13 และภาพที่ 6)
                               4.2.1 ดัชนี NDVI ในเดือนมีนาคม ไม้ยืนต้นมีค่า NDVI สูงที่สุด เท่ากับ 0.489 รองลงมา ได้แก่

                       ไม้ผล ไม้ละเมาะ ผัก นาข้าว และ พืชไร่ ค่า NDVI เท่ากับ 0.418 0.405 0.345 0.344 และ 0.277 S
                       ตามล าดับ และในเดือนธันวาคม ไม้ยืนต้นมีค่า NDVI สูงที่สุด เท่ากับ 0.562 รองลงมา ได้แก่ ไม้ละเมาะ
                       ไม้ผล พืชไร่ ผัก และนาข้าว ค่า NDVI เท่ากับ 0.502 0.474 0.380 0.351 และ0.258 ตามล าดับ
                               4.2.2 ดัชนี GNDVI ในเดือนมีนาคม ไม้ยืนต้นมีค่า GNDVI สูงที่สุด เท่ากับ 0.404 รองลงมา

                       ได้แก่ ไม้ผล ไม้ละเมาะ ผัก นาข้าว และ พืชไร่ ค่า GNDVI เท่ากับ 0.353 0.351 0.295 0.291 0.258
                       ตามล าดับ และในเดือนธันวาคม ไม้ยืนต้นมีค่า GNDVI สูงที่สุด เท่ากับ 0.451 รองลงมา ได้แก่ ไม้ละเมาะ
                       ไม้ผล พืชไร่ ผัก และนาข้าว ค่า GNDVI เท่ากับ 0.412 0.384 0.332 0.283 และ0.202 ตามล าดับ
                               4.2.3 ดัชนี NDII ในเดือนมีนาคม ไม้ยืนต้นมีค่า NDII สูงที่สุด เท่ากับ 0.103 รองลงมา ได้แก่

                       ไม้ผล ผัก ไม้ละเมาะ นาข้าว และ พืชไร่ ค่า NDII เท่ากับ 0.035 0.025 0.026 0.023 และ -0.026 และ
                       ในเดือนธันวาคม ไม้ยืนต้นมีค่า NDII สูงที่สุด เท่ากับ 0.206 รองลงมา ได้แก่ ไม้ละเมาะ ไม้ผล นาข้าว ผัก
                       และพืชไร่ ค่า NDII เท่ากับ 0.141 0.135 0.095 0.088 และ 0.063

                               การเปลี่ยนแปลงของค่า NDVI และ GNDVI ลักษณะคล้ายกันทั้ง 2 เดือน คือ ค่า NDVI มีค่าสูง
                       กว่า GNDVI ซึ่งเกิดจากดัชนี NDVI เป็นการค านวณสัดส่วนระหว่างช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้และช่วงคลื่น
                       แสงสีแดงโดยใช้สมการ (NIR – red) / (NIR + red) และ GNDVI ค านวณสัดส่วนระหว่างช่วงคลื่นอิน
                       ฟาเรดใกล้และช่วงคลื่นแสงสีเขียวโดยใช้สมการ (NIR – green) / (NIR + green) โดยทั่วไปพืชจะสะท้อน
                       ช่วงคลื่นอินฟาเรดใกล้มากกว่าช่วงคลื่นแสงสีเขียวและช่วงคลื่นแสงสีแดงตามล าดับเมื่อค่าต่างๆแล้วจึง

                       เห็นว่าในบริเวณที่มีพืชปกคลุมสูงจะมีค่า NDVI สูงกว่าค่า GNDVI และค่า NDII ตามล าดับ และไม้ยืนต้น
                       ไม้ผล และไม้ละเมาะ มีค่า NDVI และ GNDVI สูงกว่า นาข้าว พืชไร่ และผัก เนื่องจากค่า NDVI และ
                       GNDVI มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับขนาดทรงพุ่ม ขนาดพื้นที่ใบ และมวลชีวภาพ คือค่า NDVI และ GNDVI

                       จะเพิ่มขึ้นเมื่อขนาดทรงพุ่ม ขนาดพื้นที่ใบ และมวลชีวภาพเพิ่มขึ้น (Rouse et al., 1974; Gitelson et al.,
                       1996; Simms and Ward, 2013) แต่อย่างไรก็ตามในเดือนมีนาคมค่า NDVI และ GNDVI ของไม้ผลสูง
                       กว่าของไม้ละเมาะ แต่ต่ ากว่าในเดือนธันวาคม ทั้งนี้อาจเกิดจากไม้ผลเป็นพืชที่เกษตรกรมีการดูแลรดน้ า
                       ตลอดทั้งปี ขณะที่ไม้ละเมาะเป็นพืชที่ไม่มีการดูและและอาศัยน้ าฝนในการเจริญเติบโตเป็นหลัก จึงท าให้

                       ในเดือนมีนาคมซึ่งเป็นช่วงฤดูแล้งไม้ละเมาะมีการเจริญเติบโตน้อยและมีการผลัดใบเนื่องจากมีน้ าไม่
                       เพียงพอ ซึ่งคล้ายกับต้นไม้หลายชนิดเช่น ยางพาราในช่วงเดือนที่อากาศแห้งใบสีเขียวเข้มที่ปกติจะ
                       เปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลเหลืองก่อนที่จะร่วงหล่น ท าให้ใบลดลง (Azizan et al., 2021) เมื่อมีใบลดลงท าให้
                       การดูดซับช่วงคลื่นสีแดงลดลง และพื้นที่มีช่องว่างเนื่องจากใบพืชปกคลุมน้อยลง และค่าสะท้อนแสงใน

                       บริเวณที่ว่างจะเป็นค่าสะท้อนแสงของดินซึ่งมีการสะท้อนแสงทุกช่วงคลื่นสูงท าให้เมื่อค านวณสัดส่วนแล้ว
                       ค่าช่วงคลื่นแสงสีแดงและแสงสีเขียวแตกต่างจากค่าช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ไม่มากนักจึงท าให้ค่า NDVI
   36   37   38   39   40   41   42   43   44   45   46