Page 58 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 58

4-8





                  เครื่องจักรเฉลี่ย 0.64 ชั่วโมงท้างานต่อไร่ โดยมีต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 8,669.20 บาทต่อไร่ ประกอบด้วย

                  ต้นทุนผันแปรเฉลี่ย 6,370.14 บาทต่อไร่ หรือร้อยละ 73.48 ของต้นทุนทั้งหมด และต้นทุนคงที่เฉลี่ย
                  2,299.06 บาทต่อไร่ หรือร้อยละ 26.52 โดยมีมูลค่าผลผลิตเฉลี่ย 10,678.74 บาทต่อไร่
                  ได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมดเฉลี่ย 2,009.54 บาทต่อไร่ มีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด

                  (B/C Ratio) เท่ากับ 1.23
                  4.2 การวิเคราะห์ผลตอบแทนในการลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา ตามชั้นความเหมาะสม

                      ของที่ดิน (ตารางที่ 4-1)

                                จากการวิเคราะห์ผลตอบแทนในการลงทุนปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดินทั้ง 3 ระดับ คือ พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)
                  พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพปานกลาง (S2) และพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพ
                  เล็กน้อย (S3) โดยจ้าแนกการจ้าหน่ายผลผลิตในรูปแบบ น้้ายางสด ยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ

                  สามารถสรุปได้ ดังนี้
                                1) น้้ายางสด
                                   การปลูกยางพาราในพื้นที่ดินที่ความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1) ปานกลาง (S2)
                  และเล็กน้อย (S3) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนทุกระดับความเหมาะสม โดยพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสม

                  ทางกายภาพสูง (S1) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด ซึ่งมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ
                  1.46  1.14  และ 1.08 ตามล้าดับ
                                2) ยางก้อนถ้วย
                                   การปลูกยางพาราในพื้นที่ดินที่ความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1) ปานกลาง (S2)

                  และเล็กน้อย (S3) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนทุกระดับความเหมาะสม โดยพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสม
                  ทางกายภาพสูง (S1) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด ซึ่งมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมดเท่ากับ
                  1.19  1.08  และ 1.02 ตามล้าดับ

                                3) ยางแผ่นดิบ
                                   การปลูกยางพาราในพื้นที่ดินที่ความเหมาะสมทางกายภาพปานกลาง (S2)
                  และเล็กน้อย (S3) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนทุกระดับความเหมาะสม โดยพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสม
                  ทางกายภาพปานกลาง (S2) มีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากที่สุด ซึ่งมีอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด
                  เท่ากับ 1.27 และ 1.17
   53   54   55   56   57   58   59   60   61   62   63