Page 60 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 60

4-12






                  4.3 ข้อเสนอแนะ
                             จากการส้ารวจข้อมูล และวิเคราะห์สภาพเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกรที่ปลูก
                  พืชเศรษฐกิจยางพารา ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี  มีข้อเสนอแนะดังนี้
                             1) เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดถึงร้อยละ 52.80 ทั้งนี้

                  การศึกษาอาจเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตร หรือถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกร
                  อย่างเต็มรูปแบบ รัฐควรส่งเสริมความรู้เพิ่มเติม หรือเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้แก่เกษตรกร โดยการฝึกอบรม
                  ให้ความรู้ทางด้านการเกษตร และเพิ่มมาตรการจูงใจในการหาความรู้ของเกษตรกร เพื่อน้าไปใช้

                  ประโยชน์ในการพัฒนาอาชีพของตนเอง และส่งต่อความรู้หรือประสบการณ์ไปยังลูกหลานต่อไป
                  ในอนาคต
                             2) เกษตรกรส่วนใหญ่พบปัญหาเกี่ยวกับโรคพืชระบาด ราคาผลผลิตตกต่้า ปัจจัยการผลิต
                  ราคาสูง รัฐควรเข้ามาช่วยเหลือ แก้ปัญหาอย่างจริงจังถึงปัญหาที่เกิดขึ้น เพราะส่งผลต่อปริมาณผลผลิต

                  ยางพารา และต้นทุนการผลิต หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรให้การส่งเสริมองค์ความรู้เกี่ยวกับยางพารา เช่น
                                2.1) การใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน จะช่วยให้สามารถจัดการดินและปุ๋ยส้าหรับ
                  ยางพาราได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายให้แก่เกษตรกร
                  อย่างมั่นคงและยั่งยืน เกษตรกรจึงควรท้าการวิเคราะห์ดินก่อนปลูกยางพาราหรือท้าการวิเคราะห์ดิน

                  ทุก ๆ 3 ถึง 5 ปี หลังปลูก เพื่อประเมินระดับความอุดมสมบูรณ์ของดิน
                                2.2) การบริหารจัดการแรงงานท้าสวนยางพารา เพื่อพัฒนาฝีมือของแรงงาน และช่วยลด
                  ต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกยางพารา โดยจัดอบรมเกี่ยวกับการจัดการสวนยางพารา และการกรีด
                  ยางพาราที่ถูกวิธี

                                2.3) ปัญหาโรคระบาด ได้แก่ โรคใบร่วง โรคใบจุด ท้าให้ผลผลิตที่ได้รับมีปริมาณต่้า
                  กว่าปกติ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรหาวิธีการรับมือกับโรคต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
                                2.4) การแจ้งข้อมูลข่าวสารด้านการตลาดยางพาราผ่านสื่อที่เหมาะสมด้วยการสื่อสาร

                  ที่สามารถเข้าใจได้ง่าย เป็นต้น
                             3) ปัญหาหลักทางด้านการผลิตของเกษตรกรที่ปลูกยางพาราทุกครัวเรือน คือ เรื่องราคา
                  ของปุ๋ยเคมีที่มีราคาสูงมากในปัจจุบัน ถ้าเปรียบเทียบกับเมื่อประมาณ 3-4 ปีที่ผ่านมา ราคากระสอบละ
                  500-600 บาท ปัจจุบันมีราคาสูงถึง 1,100-1,200 บาท เพิ่มขึ้นเท่าตัวหรือมากกว่า ท้าให้ต้นทุน
                  ในการผลิตของเกษตรกรสูง ส่งผลต่อรายได้ที่ลดลง และพบว่ามีเกษตรกรบางส่วนใส่ปุ๋ยตามจ้านวนเงิน

                  ที่พอจะซื้อหาได้ ไม่ได้เป็นไปตามความต้องการของพืช ซึ่งเป็นปัญหาอย่างมาก โดยเฉพาะในสวน
                  ยางพาราใหม่ที่ยังไม่ได้เปิดกรีด ซึ่งในปัจจุบันเกษตรกรบางรายหันมาใช้ปุ๋ยชีวภาพชนิดน้้าแทนการใช้
                  ปุ๋ยเคมี ถ้าผลผลิตของเกษตรกรกลุ่มนี้ได้ผลผลิตดีเทียบเท่ากับเกษตรกรที่ใช้ปุ๋ยเคมี ในบริเวณที่ดิน

                  ที่มีความเหมาะสมทางกายภาพระดับเดียวกัน ควรท้าแปลงสาธิตในพื้นที่ต่าง ๆ ที่มีการปลูกยางพารา
                  เพื่อเป็นแนวทางหรือทางเลือกแก่เกษตรกรที่ปลูกยางพาราและพืชอื่น ๆ ในการลด หรือเลิกใช้ปุ๋ยเคมี
                             4) จากแนวความคิดของเกษตรกรที่ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงการปลูกยางพาราในปัจจุบัน
                  ดังนั้น รัฐควรเพิ่มศักยภาพการผลิต โดยสนับสนุนการท้าวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตยางพารา
   55   56   57   58   59   60   61   62   63   64   65