Page 52 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 52

4-2





                  ที่ประสบปัญหาด้านสังคม และความปลอดภัย รองลงมาคือ ปัญหายาเสพติดร้อยละ 50.00 ปัญหา

                  ครอบครัว และปัญหาขัดแย้งในชุมชนร้อยละ 4.55 เท่ากัน
                                ความต้องการความช่วยเหลือด้านการเกษตร พบว่า ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 67.20
                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมดต้องการความช่วยเหลือด้านการเกษตร โดยความช่วยเหลือที่ต้องการมากที่สุด

                  3 ล้าดับแรก ได้แก่ ประกันราคาผลผลิตร้อยละ 73.81 ของครัวเรือนเกษตรที่ต้องการความช่วยเหลือ
                  ด้านการเกษตรทั้งหมด รองลงมาคือ พยุงราคาผลผลิตร้อยละ 70.24 และจัดหาปัจจัยการผลิตราคาถูก
                  ร้อยละ 39.29 ตามล้าดับ ความต้องการความช่วยเหลือด้านการครองชีพ พบว่า ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 12.00
                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ต้องการความช่วยเหลือด้านการครองชีพ โดยความช่วยเหลือ
                  ที่ต้องการมากที่สุด 3 ล้าดับแรก ได้แก่ จัดหาแหล่งน้้าเพื่อการอุปโภคร้อยละ 80.00 ของครัวเรือนเกษตร

                  ที่ต้องการความช่วยเหลือด้านการครองชีพ รองลงมาคือ จัดหาแหล่งน้้าเพื่อการบริโภคร้อยละ 73.33
                  และจัดสร้างหรือซ่อมแซมถนนร้อยละ 26.67 ตามล้าดับ
                                แนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการผลิต พบว่า ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 64.00

                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการผลิต และครัวเรือนเกษตรร้อยละ 31.20 มีความคิด
                  เปลี่ยนแปลงการผลิตโดยการลดพื้นที่เพาะปลูก และปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นแทน ได้แก่
                  ปาล์มน้้ามัน และไม้ผล
                                แนวคิดในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร พบว่า เกษตรก ร ร้อยละ 98.40

                  ของเกษตรกรทั้งหมด มีแนวคิดในการเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 48.80
                  ของเกษตรกรที่มีแนวคิดในการเพิ่มผลผลิตให้เปลี่ยนพันธุ์ใหม่ร้อยละ 39.20 ให้เพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมี แต่ก็มี
                  เกษตรกรบางส่วนร้อยละ 1.60 ไม่ทราบวิธีการเพิ่มผลผลิต
                                แนวคิดในการวางแผนเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร พบว่า ครัวเรือนเกษตร

                  ร้อยละ 87.20 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ไม่คิดเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร
                  มีครัวเรือนเกษตรเพียงร้อยละ 8.80 ที่วางแผนจะเปลี่ยนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร
                  ซึ่งอาชีพที่ต้องการเปลี่ยน คือ ค้าขายและรับจ้าง โดยให้เหตุผลว่าต้องการมีอาชีพเสริม และมีรายได้
                  ประจ้า และมีครัวเรือนเกษตรร้อยละ 4.00 ไม่มีความคิดเห็นและหรือไม่แน่ใจ

                                ประเภทผลผลิตยางพาราที่เกษตรกรต้องการผลิต พบว่าครัวเรือนเกษตรร้อยละ 47.20
                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ต้องการผลิตน้้ายางสด รองลงมาคือ ยางแผ่นดิบร้อยละ 34.40
                  และยางก้อนถ้วยร้อยละ 18.40

                                ความพึงพอใจในราคาผลผลิตยางพาราที่เกษตรกรจ้าหน่ายได้ พบว่า ครัวเรือนเกษตร
                  ร้อยละ 59.46 พอใจในราคาผลผลิตยางพาราที่จ้าหน่าย ร้อยละ 40.54 ไม่พอใจในราคาผลผลิต
                  ยางพาราที่จ้าหน่ายได้  โดยราคายางพาราที่ครัวเรือนเกษตรต้องการจ้าหน่ายคือ ยางแผ่นดิบเฉลี่ย
                  69.33 บาทต่อกิโลกรัม น้้ายางสดเฉลี่ย 60.71 บาทต่อกิโลกรัม และยางก้อนถ้วยเฉลี่ย 31.64 บาทต่อกิโลกรัม

                             2) สภาพการผลิตและการแจกจ่ายผลผลิต

                                2.1) ยางพาราปีปลูก
                                    เกษตรกรทั้งหมดปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM600 มีเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 9.00 ไร่ต่อครัวเรือน
                  ระยะปลูกยางพาราที่เกษตรกรปลูกทั้งหมดคือ 3x7 เมตร มีจ้านวนต้นต่อไร่เฉลี่ย 76 ต้น โดยท้าการปลูก
                  ในเดือนพฤษภาคม แหล่งน้้าที่ใช้ในการปลูกยางพาราคือ น้้าฝนเพียงอย่างเดียว
   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57