Page 51 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 51

บทที่ 4

                                          สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ



                             การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา
                  ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ปีการผลิต 2564/65 มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อทราบสถานภาพ
                  ด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร (ข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร การถือครองที่ดิน ภาวะหนี้สินและ
                  การกู้ยืมเงิน ปัญหาและความต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐ ทัศนคติ) และ 2) เพื่อวิเคราะห์

                  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามชั้น
                  ความเหมาะสมของที่ดิน (สภาพการผลิต การแจกจ่ายผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต ต้นทุน และ
                  ผลตอบแทนการผลิต) สามารถสรุปผลการศึกษา และข้อเสนอแนะ ตามประเภทผลผลิตยางพารา 3 ชนิด
                  ได้แก่ น้้ายางสด ยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ โดยใช้ราคาเฉลี่ย 47.15 23.80 และ 56.67 บาทต่อกิโลกรัม

                  ตามล้าดับ ดังนี้
                  4.1 สรุปผลการศึกษา

                             1) ภาวะเศรษฐกิจและสังคม
                                เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 57 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับชั้นประถมศึกษามากที่สุด

                  ร้อยละ 52.80 รองลงมาคือ มัธยมศึกษาตอนปลายหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพร้อยละ 18.40
                  และมัธยมศึกษาตอนต้นร้อยละ 14.40 ของเกษตรกรทั้งหมด ลักษณะการถือครองที่ดิน เป็นที่ดินของ
                  ตนเองทั้งหมด ส่วนใหญ่ร้อยละ 93.30 มีเอกสารสิทธิ์ ได้แก่ ส.ป.ก.4-01 ร้อยละ 49.35 ของครัวเรือน
                  เกษตรที่มีเอกสารสิทธิ์ รองลงมาคือ โฉนดร้อยละ 26.77 และน.ส.3 ร้อยละ 12.42 ตามล้าดับ
                                ภาวะหนี้สินของครัวเรือนเกษตร พบว่า ครัวเรือนเกษตรมีหนี้สินร้อยละ 41.60

                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด จ้านวนเงินกู้เฉลี่ย 35,856.00 บาทต่อครัวเรือน เป็นการกู้ยืมเงินในระบบ
                  ทั้งหมด แหล่งเงินกู้ที่ส้าคัญ คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ร้อยละ 80.41 ธนาคารออมสิน
                  ร้อยละ 14.95 และกลุ่มออมทรัพย์ร้อยละ 3.79 วัตถุประสงค์การกู้ยืมส่วนใหญ่ใช้เพื่อการเกษตร

                  ร้อยละ 97.99 โดยส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเงินระยะกลาง 2-5 ปี ร้อยละ 45.83 อัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ย
                  ร้อยละ 6.20 บาทต่อปี
                                ปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตร พบว่า ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 82.40
                  ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด มีปัญหาด้านการผลิตทางการเกษตร โดยปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล้าดับแรก

                  ได้แก่ โรคพืชระบาดร้อยละ 81.55 ของครัวเรือนเกษตรที่ประสบปัญหาด้านการเกษตร รองลงมาคือ
                  ราคาผลผลิตตกต่้าร้อยละ 56.31 และปัจจัยการผลิตมีราคาสูงร้อยละ 35.92 ตามล้าดับ ปัญหา
                  ด้านการครองชีพ พบว่า ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 40.80 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด มีปัญหา
                  ด้านการครองชีพ โดยปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล้าดับแรก ได้แก่ สุขภาพไม่แข็งแรงร้อยละ 58.82

                  ของครัวเรือนเกษตรที่ประสบปัญหาด้านการครองชีพ รองลงมาคือ รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่าย
                  และขาดแคลนสาธารณูปโภคพื้นฐานร้อยละ 37.25 เท่ากัน ปัญหาด้านสังคม และความปลอดภัย พบว่า
                  ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 17.60 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด มีปัญหาด้านสังคมและความปลอดภัย
                  โดยปัญหาที่พบมากที่สุด 3 ล้าดับแรก ได้แก่ ปัญหาโจรกรรมร้อยละ 63.64 ของครัวเรือนเกษตร
   46   47   48   49   50   51   52   53   54   55   56