Page 27 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 27

2-7





                  2.5   ทัศนคติของเกษตรกร (ตารางที่ 2-7)

                             จากการศึกษา พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 64.00 ของเกษตรกรทั้งหมด ไม่ต้องการ
                  เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา และมีบางส่วนร้อยละ 31.20 ต้องการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา

                  และร้อยละ 4.80 ไม่แน่ใจในการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา ส าหรับเกษตรกรที่ต้องการ
                  เปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารามีแนวความคิดการเปลี่ยนแปลงโดยลดพื้นที่การปลูกทั้งหมด ซึ่งมี
                  สาเหตุหลักคือ ต้องการปลูกพืชชนิดอื่นแทน โดยพืชที่ต้องการปลูกทดแทน ได้แก่ ปาล์มน้ ามันร้อยละ 79.49
                  ของเกษตรกรทั้งหมดที่มีแนวความคิดลดพื้นที่ปลูก รองลงมาคือ ไม้ผลร้อยละ 15.38 และกระท่อม
                  ร้อยละ 5.13 ทั้งนี้ หากมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูก เกษตรกรต้องการให้รัฐช่วยเหลือเรื่องการจัดหา

                  พันธุ์ที่ดีร้อยละ 2.56 ส าหรับแนวคิดในการเพิ่มผลผลิตยางพารา เกษตรกรร้อยละ 98.40 ของเกษตรกร
                  ทั้งหมด ทราบถึงวิธีการเพิ่มผลผลิตยางพารา โดยเกษตรกรร้อยละ 48.80 เปลี่ยนพันธุ์ใหม่เพื่อ
                  เพิ่มผลผลิต ร้อยละ 39.20 เพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมี ร้อยละ 7.20 ปรับปรุงบ ารุงดิน ร้อยละ 6.40 ลงทุน

                  จัดหาแหล่งน้ า ร้อยละ 5.60 ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต ร้อยละ 4.80 ป้องกันวัชพืช และหรือโรคพืช
                  และหรือศัตรูพืช ร้อยละ 3.20 เพิ่มปุ๋ยอินทรีย์ ร้อยละ 0.80 เปลี่ยนพื้นที่ปลูกใหม่ และเกษตรกร
                  บางส่วนร้อยละ 1.60 ไม่ทราบวิธีการเพิ่มผลผลิต ส่วนแนวคิดการวางแผนไปประกอบอาชีพนอก
                  ภาคการเกษตร เกษตรกรร้อยละ 8.80 ของเกษตรกรทั้งหมด มีแนวคิดเปลี่ยนอาชีพไปประกอบอาชีพค้าขาย

                  ร้อยละ 90.91 ของเกษตรกรที่มีแนวคิดวางแผนไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยให้เหตุผลว่า
                  เป็นอาชีพเสริมร้อยละ 50.00 รองลงมาคือ มีรายได้ประจ าร้อยละ 40.00 และมีรายได้มากกว่า
                  ในภาคการเกษตรร้อยละ 10.00 และบางส่วนมีแนวคิดเปลี่ยนอาชีพไปประกอบอาชีพรับจ้างร้อยละ 9.09
                  โดยให้เหตุผลว่ามีรายได้ประจ า แต่เกษตรกรส่วนใหญ่ร้อยละ 87.20 ไม่มีแนวคิดวางแผนเปลี่ยน

                  ไปประกอบอาชีพนอกภาคการเกษตร โดยให้เหตุผลว่า ราคาผลผลิตดีร้อยละ 38.53 ของเกษตรกรที่
                  ไม่มีแนวความคิดเปลี่ยนอาชีพ รองลงมาคือ เป็นอาชีพหลักของครอบครัว ร้อยละ 27.52 มีที่ดินอยู่แล้ว
                  ร้อยละ 22.94 ชราภาพร้อยละ 11.00 สภาพพื้นที่ไม่เหมาะสมกับพืชชนิดอื่นร้อยละ 8.26 และไม่มี
                  ความรู้ในการประกอบอาชีพอื่นร้อยละ 4.59 ส่วนเกษตรกรร้อยละ 4.00 ไม่มีความคิดเห็นหรือไม่แน่ใจ

                  เกี่ยวกับการวางแผนเปลี่ยนไปประกอบอาชีพอื่นนอกภาคการเกษตร
                  ตารางที่ 2-7: ทัศนคติของเกษตรกรที่ผลิตยางพารา ปีการผลิต 2564/65
                                            รายการ                                     ร้อยละ
                  แนวความคิดเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา

                     ไม่เปลี่ยน                                                         64.00
                     เปลี่ยน                                                            31.20
                     ไม่แน่ใจ                                                            4.80
                  ประเภทของการเปลี่ยนแปลง
                     ลดพื้นที่ปลูกยางพารา                                             100.00
                        สาเหตุที่คิดจะลดพื้นที่
                           ต้องการปลูกพืชชนิดอื่นแทน                                   100.00
                              พืชที่ต้องการปลูกทดแทน
                                    ปาล์มน้ ามัน                                        79.49
                                    ไม้ผล                                               15.38
   22   23   24   25   26   27   28   29   30   31   32