Page 22 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 22

2-2






                  2.2   การถือครองที่ดิน (ตารางที่ 2-2)
                             จากการศึกษา พบว่า ลักษณะการถือครองที่ดินของครัวเรือนเกษตรเป็นที่ดินของตนเอง
                  ทั้งหมด มีพื้นที่ถือครองเฉลี่ย 13.29 ไร่ต่อครัวเรือน มีหนังสือส าคัญในที่ดินของตนเองเป็นเอกสารสิทธิ์

                  เฉลี่ย 12.40 ไร่ต่อครัวเรือน โดยจ าแนกเป็น ส.ป.ก.4-01 เฉลี่ย 6.12 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 49.35
                  ของหนังสือส าคัญในที่ดินของตนเองที่มีเอกสารสิทธิ์ รองลงมาคือ โฉนดเฉลี่ย 3.32 ไร่ต่อครัวเรือน
                  หรือร้อยละ 26.77 น.ส.3 เฉลี่ย 1.54 ไร่ต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 12.42 น.ส.3ก. เฉลี่ย 1.42 ไร่ต่อครัวเรือน
                  หรือร้อยละ 11.46 และมีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเป็นการเข้าท าเปล่าเฉลี่ย 0.89 ไร่ต่อครัวเรือน

                  ตารางที่ 2-2: การถือครองที่ดินและหนังสือส าคัญในที่ดินของครัวเรือนเกษตรที่ผลิตยางพารา

                                   ปีการผลิต 2564/65

                               รายการ                      ไร่/ครัวเรือน               ร้อยละ
                  ลักษณะการถือครองที่ดิน
                     ของตนเอง                                  13.29                    100.00

                  หนังสือส าคัญในที่ดินของตนเอง
                     มีเอกสารสิทธิ์                           12.40                      93.30
                        ส.ป.ก.4-01                              6.12                     49.35
                        โฉนด                                    3.32                     26.77
                        น.ส.3                                   1.54                     12.42

                        น.ส.3ก.                                 1.42                     11.46
                     ไม่มีเอกสารสิทธิ์                          0.89                      6.70
                        เข้าท าเปล่า                            0.89                    100.00

                  ที่มา: จากการส ารวจ (2565) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน
                         กรมพัฒนาที่ดิน

                  2.3   ภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงิน (ตารางที่ 2-3)

                             จากการศึกษาภาวะหนี้สินและการกู้ยืมเงินของครัวเรือนเกษตร พบว่า ในรอบปีที่ผ่านมา
                  ครัวเรือนเกษตรมีภาวะหนี้สินและกู้ยืมเงินร้อยละ 41.60 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด โดยมีวงเงินกู้
                  เฉลี่ย 35,856.00 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นเงินกู้ในระบบทั้งหมด โดยแหล่งเงินกู้ที่ครัวเรือนเกษตรกู้ยืมเงิน
                  มากที่สุด คือ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เฉลี่ย 28,832.00 บาทต่อครัวเรือน
                  หรือร้อยละ 80.41 ของวงเงินกู้ทั้งหมด รองลงมาคือ ธนาคารออมสินเฉลี่ย 5,360.00 บาทต่อครัวเรือน

                  หรือร้อยละ 14.95 กลุ่มออมทรัพย์เฉลี่ย 1,360.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 3.79 และกองทุน
                  หมู่บ้านเฉลี่ย 304.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 0.85 โดยส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์การกู้ยืมเงิน
                  เพื่อใช้ในการเกษตรเฉลี่ย 35,136.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 97.99 และใช้ในการครองชีพเฉลี่ย

                  720.00 บาทต่อครัวเรือน หรือร้อยละ 2.01 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 6.20 บาทต่อปี ทั้งนี้
                  การกู้ยืมเงินส่วนใหญ่มีระยะเวลา 2-5 ปี หรือร้อยละ 45.83 รองลงมาคือ ระยะเวลามากกว่า 5 ปี
                  หรือร้อยละ 29.17 และระยะเวลา 1 ปี หรือร้อยละ 25.00
   17   18   19   20   21   22   23   24   25   26   27