Page 31 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 31

บทที่ 3

                                                ภาวะการผลิตยางพารา



                             การศึกษาภาวะการผลิตพืชเศรษฐกิจยางพาราของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี
                  เพื่อใช้วิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน โดยท าการศึกษาเกี่ยวกับ
                  สภาพการผลิต การกระจายผลผลิต การใช้ปัจจัยการผลิต และการใช้แรงงานในการผลิต รวมถึงต้นทุน
                  และผลตอบแทนในการผลิต ซึ่งมีการจ าแนกตามลักษณะการจ าหน่ายผลผลิต ได้แก่ น้ ายางสด ยางก้อนถ้วย

                  และยางแผ่นดิบ โดยราคาผลผลิตที่น ามาค านวณมูลค่าผลผลิตคือ ราคาเฉลี่ยต่อกิโลกรัมที่ได้จากการส ารวจ
                  ผลผลิตแต่ละประเภท น้ ายางสดกิโลกรัมละ 47.15 บาท ยางก้อนถ้วยกิโลกรัมละ 23.80 บาท และ
                  ยางแผ่นดิบกิโลกรัมละ 56.67 บาท ทั้งนี้ เพื่อก าจัดปัญหาตัวแปรด้านราคาที่แตกต่างกันตามสถานที่
                  และระยะเวลาการขายผลผลิต ซึ่งมีรายละเอียดการศึกษา ดังนี้


                  3.1 สภาพการผลิตและการแจกจ่ายผลผลิต
                             1) สภาพการผลิต (ตารางที่ 3-1)
                                1.1) ยางพาราปีปลูก

                                    เกษตรกรทั้งหมดปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM600 โดยมีลักษณะการปลูกเป็น
                  การปลูกทดแทนพืชเดิมทั้งหมด มีเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 9.00 ไร่ต่อครัวเรือน ระยะปลูกยางพาราที่เกษตรกร
                  ปลูกทั้งหมด คือ 3x7 เมตร มีจ านวนต้นเฉลี่ย 76 ต้นต่อไร่ ซึ่งเกษตรกรทั้งหมดจะเริ่มปลูกยางพารา
                  ในเดือนพฤษภาคม ทั้งนี้แหล่งน้ าที่ใช้ในการปลูกยางพาราคือ น้ าฝนเพียงอย่างเดียว
                                1.2) ยางพาราปีดูแลรักษา

                                    เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางพันธุ์ RRIM600 ร้อยละ 83.33 และพันธุ์ RRIT251
                  ร้อยละ 16.67 มีเนื้อที่ปลูกเฉลี่ย 10.00 ไร่ต่อครัวเรือน ระยะปลูกยางพาราที่เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่
                  คือ 3x7 เมตร ร้อยละ 83.33 และระยะ 3x6 เมตร ร้อยละ 16.67  มีจ านวนต้นเฉลี่ย 78 ต้นต่อไร่

                  อายุพืชเฉลี่ย 4 ปี ทั้งนี้แหล่งน้ าที่ใช้ในการดูแลยางพาราคือ น้ าฝนเพียงอย่างเดียว

                                1.3) ยางพาราปีให้ผลผลิต
                                    (1) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1)
                                        เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกยางพาราพันธุ์ RRIM600 ร้อยละ 94.29
                  และพันธุ์ RRIT251 ร้อยละ 5.71 มีเนื้อที่ปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยวเฉลี่ย 13.37 ไร่ต่อครัวเรือน ระยะปลูก

                  ยางพาราที่เกษตรกรปลูกส่วนใหญ่ คือ ระยะ 3x7 เมตร ร้อยละ 91.43 รองลงมาคือ ระยะ 3x6 เมตร
                  ร้อยละ 5.71 และระยะ 4x7 เมตร ร้อยละ 2.86 มีจ านวนต้นเฉลี่ย 77 ต้นต่อไร่ อายุพืชเฉลี่ย 16 ปี
                  โดยเกษตรกรส่วนใหญ่เปิดหน้ายางพาราในเดือนพฤษภาคมร้อยละ 82.86 เดือนมิถุนายนร้อยละ 17.14
                  และปิดหน้ายางพาราในเดือนมีนาคมร้อยละ 97.14 เดือนเมษายนร้อยละ 2.86 โดยมีลักษณะการกรีด

                  เป็นการกรีด 2 วัน หยุด 1 วัน ร้อยละ 77.14 และ 3 วัน หยุด 1 วัน ร้อยละ 22.86 ซึ่งมีจ านวนวันกรีด
                  ในรอบปีเฉลี่ย 146 วัน ทั้งนี้แหล่งน้ าที่ใช้ในการดูแลยางพาราคือ น้ าฝนเพียงอย่างเดียว
   26   27   28   29   30   31   32   33   34   35   36