Page 13 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 13

(8)





                  13,379.79  11,897.30 และ 12,336.49 บาทต่อไร่ มีต้นทุนทั้งหมด 10,495.28  10,166.97 และ

                  10,264.23 บาทต่อไร่ ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 2,884.51  1,730.33 และ 2,072.26 บาทต่อไร่
                  ต้นทุนต่อกิโลกรัม 44.45  48.43 และ 47.15 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน 1.27  1.17 และ
                  1.20 ตามล าดับ เมื่อพิจารณาจากอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (Benefit-cost Ratio: B/C Ratio)

                  ทั้ง 2 ระดับความเหมาะสม มีค่ามากกว่า 1 หมายความว่าผลตอบแทนที่ได้รับจากการผลิตยางพารา
                  มากกว่าค่าใช้จ่ายหรือต้นทุนที่เสียไป แสดงให้เห็นว่าการปลูกยางพารามีความคุ้มค่าแก่การลงทุน

                             3. ข้อเสนอแนะ
                                เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุดถึงร้อยละ 52.80 อาจเป็น
                  อุปสรรคต่อการพัฒนาการเกษตร รัฐจึงควรส่งเสริมความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลง

                  ตลอดเวลาด้วยการฝึกอบรมให้กับเกษตรกรรุ่นเก่าที่มีประสบการณ์และเกษตรกรรุ่นใหม่ที่พร้อมรับ
                  ความรู้และเทคโนโลยี ควรสนับสนุนการท าวิจัยและพัฒนาด้านการผลิตยางพาราให้มีคุณภาพ
                  เพิ่มศักยภาพการผลิต และสนับสนุนให้หน่วยงานในพื้นที่จัดท าแปลงสาธิตเกี่ยวกับการใช้ปัจจัยการผลิต
                  ทดแทนการใช้สารเคมีและปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพง พร้อมทั้งส่งเสริมการรวมกลุ่มผู้ปลูกยางพาราให้ร่วมกัน

                  จ าหน่ายและร่วมกันจัดหาปัจจัยการผลิต ซึ่งท าให้สามารถสร้างอ านาจการต่อรองกับผู้ซื้อผลผลิต
                  และผู้ขายปัจจัยการผลิต เพื่อลดผลกระทบจากการปรับตัวลดลงของราคายางพารา พร้อมทั้งช่วยเหลือ
                  เกี่ยวกับปัญหาด้านการเกษตร (โรคพืชระบาด ราคาผลผลิตตกต่ า ปัจจัยการผลิต) โดยการแก้ไขปัญหา
                  อย่างจริงจังและมีความต่อเนื่อง ทั้งนี้ รัฐควรมีมาตรการรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในประเทศและ

                  ต่างประเทศที่อาจเกิดขึ้น (การแพร่ระบาดของโรค ภาวะสงคราม) อย่างเป็นระบบ เช่น การประกันราคา
                  การช่วยเหลือปัจจัยการผลิต เป็นต้น
   8   9   10   11   12   13   14   15   16   17   18