Page 11 - ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจยางพารา
P. 11

บทสรุปส ำหรับผู้บริหำร



                             รายงานนี้เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูก
                  พืชเศรษฐกิจยางพารา จังหวัดสุราษฎร์ธานี ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน ปีการผลิต 2564/65
                  โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทราบสถานภาพด้านเศรษฐกิจและสังคมของเกษตรกร และเพื่อวิเคราะห์

                  ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่ปลูกพืชเศรษฐกิจยางพารา ตามชั้นความเหมาะสมของที่ดิน
                  3 ระดับ ได้แก่ พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพสูง (S1) พื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพ
                  ปานกลาง (S2) และพื้นที่ดินที่มีความเหมาะสมทางกายภาพเล็กน้อย (S3) จ าแนกตามประเภทผลผลิต
                  ยางพารา ได้แก่ น้ ายางสด ยางก้อนถ้วย และยางแผ่นดิบ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์ และน าข้อมูลมา

                  วิเคราะห์ ได้ผลการศึกษาดังนี้

                             1. ภำวะเศรษฐกิจและสังคม
                                เกษตรกรที่ท าการผลิตยางพารามีอายุเฉลี่ยประมาณ 57 ปี ส่วนใหญ่ส าเร็จการศึกษา
                  ระดับประถมศึกษามากที่สุดร้อยละ 52.80 ลักษณะกำรถือครองที่ดิน ครัวเรือนเกษตรมีที่ดิน
                  เป็นของตนเองทั้งหมด เอกสารการถือครองที่ดินในที่ดินของตนเองส่วนใหญ่เป็นส.ป.ก.4-01

                  ร้อยละ 49.35 ของครัวเรือนเกษตรที่มีหนังสือส าคัญในที่ดินของตนเอง ภำวะหนี้สิน ครัวเรือนเกษตรมี
                  หนี้สินร้อยละ 41.60 จ านวนเงินกู้เฉลี่ย 35,856.00 บาทต่อครัวเรือน ซึ่งเป็นการกู้ยืมเงินในระบบ
                  ทั้งหมดโดยมีอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ยร้อยละ 6.20 บาทต่อปี ปัญหำด้ำนกำรเกษตร ครัวเรือนเกษตร
                  ร้อยละ 82.40 มีปัญหาด้านการเกษตร โดยส่วนใหญ่ประสบปัญหาโรคพืชระบาดร้อยละ 81.55

                  ของครัวเรือนเกษตรที่มีปัญหาด้านการเกษตรทั้งหมด ควำมต้องกำรควำมช่วยเหลือด้ำนกำรเกษตร
                  ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 67.20 ต้องการความช่วยเหลือด้านการเกษตร โดยความช่วยเหลือที่ต้องการ
                  มากที่สุด คือ ประกันราคาผลผลิตร้อยละ 73.81 ของครัวเรือนเกษตรที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหมด
                  ปัญหำด้ำนกำรครองชีพ สังคม และควำมปลอดภัย ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 40.80 มีปัญหาด้านการ

                  ครองชีพ โดยส่วนใหญ่ประสบปัญหาสุขภาพไม่แข็งแรงร้อยละ 58.82 ของครัวเรือนเกษตรที่มีปัญหา
                  ด้านการครองชีพทั้งหมด และครัวเรือนเกษตร ร้อยละ 17.60 มีปัญหาด้านสังคมและความปลอดภัย
                  โดยปัญหาหลัก คือ การโจรกรรมร้อยละ 63.64 และยาเสพติดร้อยละ 50.00  ของครัวเรือนเกษตร

                  ที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหมด ควำมต้องกำรควำมช่วยเหลือด้ำนกำรครองชีพ สังคม และควำม
                  ปลอดภัย ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 12.00 ต้องการความช่วยเหลือด้านการครองชีพ โดยความช่วยเหลือ
                  ที่ต้องการเร่งด่วนคือ จัดหาแหล่งน้ าเพื่อการอุปโภคร้อยละ 80.00 และบริโภคร้อยละ 73.33 ของครัวเรือน
                  เกษตรที่ต้องการความช่วยเหลือทั้งหมด ทัศนคติของเกษตรกร ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 98.40 มีแนวคิด
                  ในการเพิ่มผลผลิต โดยส่วนใหญ่มีแนวคิดการเปลี่ยนพันธุ์ใหม่ หรือเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมี ส่วนแนวคิด

                  การเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา ครัวเรือนเกษตรร้อยละ 64.00 ของครัวเรือนเกษตรทั้งหมด ไม่คิด
                  จะเปลี่ยนแปลงพื้นที่ปลูกยางพารา แต่ก็มีครัวเรือนเกษตรร้อยละ 31.20 ต้องการลดพื้นที่ปลูกยางพารา
                  เพื่อปลูกปาล์มน้ ามัน และไม้ผลทดแทน ส่วนการวางแผนเปลี่ยนแปลงอาชีพไปสู่นอกภาคการเกษตร

                  ครัวเรือนเกษตรส่วนใหญ่ร้อยละ 87.20 ไม่คิดเปลี่ยนแปลงอาชีพ โดยให้เหตุผลว่า ราคาผลผลิตยางพารา
                  ที่ได้รับในขณะนี้ยังสามารถเลี้ยงครอบครัวได้ อีกทั้งเป็นอาชีพหลักของครอบครัว ประเภทผลผลิต
                  ยำงพำรำที่เกษตรกรต้องกำรผลิต เกษตรกรร้อยละ 47.20 ของเกษตรทั้งหมด ต้องการผลิตยางพารา
   6   7   8   9   10   11   12   13   14   15   16