Page 49 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 49
4.1.3 การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
1) การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจในการผลิตพืช อยู่ในระดับความเหมาะสมสูง (S1)
ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4 ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง กลุ่มชุดดินที่ 5 ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง กลุ่มชุดดินที่ 21
ข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง และกลุ่มชุดดินที่ 35 ส้มโอ
2) การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจในการผลิตพืช อยู่ในระดับความเหมาะสม
ปานกลาง (S2) ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 4 ส้มโอ กลุ่มชุดดินที่ 18 ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน
กลุ่มชุดดินที่ 21 ส้มโอ และกลุ่มชุดดินที่ 35 ข้าวนาปี และมันสำปะหลัง
3) การประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจในการผลิตพืช อยู่ในระดับความเหมาะสม
เล็กน้อย (S3) ได้แก่ กลุ่มชุดดินที่ 35 อ้อยโรงงาน
4.2 ข้อเสนอแนะ
4.2.1 ข้อเสนอแนะจากการดำเนินงาน
1) จากการประเมินความเหมาะสมในเชิงเศรษฐกิจของประเภทการใช้ประโยชน์ที่ดิน
พบว่า การปลูกข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรังในกลุ่มชุดดินที่ 4, 5 และกลุ่มชุดดินที่ 21 และการปลูกส้มโอ
ในกลุ่มชุดดินที่ 35 อยู่ในระดับความเหมาะสมสูง (S1) ดังนั้น เจ้าหน้าที่สำนักงานพัฒนาที่ดินเขต และ
เจ้าหน้าที่สถานีพัฒนาที่ดินสามารถนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ เพื่อประกอบการพิจารณาแนวทางการใช้
ประโยชน์ที่ดินให้แก่เกษตรกรในพื้นที่ และยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการจูงใจให้เกษตรกรปรับเปลี่ยน
การผลิตทางการเกษตรให้เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ต่อไป
2) เกษตรกรส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษามากที่สุด ซึ่งเกษตรกรมีความสำคัญ
ุ
และบทบาทในการตัดสินใจในการทำเกษตร ทั้งนี้ การศึกษาอาจเป็นอปสรรคต่อการพฒนาการเกษตรหรือ
ั
ถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสมไปสู่เกษตรกรอย่างเต็มรูปแบบ ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมความรู้หรือ
เทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้แก่เกษตรกรอย่างต่อเนื่อง โดยการฝึกอบรมความรู้ทางด้านการเกษตรผสานกับ
ภูมิปัญญาหรือประสบการณ์ของเกษตรกรที่มีอยู่ และเพิ่มมาตรการจูงใจในการหาความรู้ เพื่อนำไปใช้
ประโยชน์ในการพัฒนาการเกษตรของตนเอง
3) เกษตรกรส่วนใหญ่เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดังนั้น ภาครัฐควรส่งเสริมหรือสรรหาเกษตรกร
รุ่นใหม่ทดแทน เพื่อช่วยในการพัฒนาคุณภาพและระบบการผลิตทางการเกษตร โดยการถ่ายทอด
เทคโนโลยีหรือนวัตกรรมการผลิตพืชใหม่ ๆ ส่งเสริมความรู้ด้านดิจิทัล ส่งเสริมการนำแอปพลิเคชัน
ด้านการเกษตรมาใช้ในภาคการเกษตร และถอดความรู้หรือภูมิปัญญาหรือประสบการณ์ของเกษตรกร
ผู้สูงอายุ เพื่อนำมาปรับใช้ในด้านการเกษตร และส่งต่อความรู้หรือประสบการณ์ไปยังบุตรหลานต่อไป
ในอนาคต
4) เกษตรกรส่วนใหญ่ประสบปัญหาภัยแล้ง ซึ่งอาจส่งผลต่อผลผลิตทางการเกษตร
และรายได้ของเกษตรกรที่ลดลง โดยเกษตรกรส่วนใหญ่ต้องการความช่วยเหลือจากภาครัฐในการจัดสร้าง
แหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ดังนั้น ภาครัฐโดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมพัฒนาที่ดินซึ่งเป็นหน่วยงานที่มี
โครงการแหล่งน้ำในไร่นานอกเขตชลประทาน ควรดำเนินการสำรวจและช่วยเหลือในเรื่องการจัดหาหรือ
จัดสร้างแหล่งน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น
ี่
รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท 41