Page 46 - รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจังหวัดชัยนาท
P. 46

จัดหาปัจจัยการผลิตคุณภาพดี และราคาต่ำกว่าท้องตลาดร้อยละ 33.33 ส่งเสริมและแนะนำการทำปุ๋ย
                  สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชใช้เอง และจัดสรรพันธุ์พืชให้แก่เกษตรกร ร้อยละ 16.67 เท่ากัน เกษตรกร
                  ผู้ปลูกอ้อยโรงงานมีความต้องการความช่วยเหลือร้อยละ 52.00 ส่วนใหญ่ต้องการให้จัดหาปัจจัยการผลิต

                  คุณภาพดี และราคาต่ำกว่าท้องตลาดร้อยละ 76.92 และจัดสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร ขุดลอกแหล่งน้ำ
                  ธรรมชาติหรือแหล่งน้ำสาธารณะที่ตื้นเขิน ส่งเสริมและแนะนำการทำปุ๋ย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชใช้เอง
                  ประกันราคาพืชผลทางการเกษตร และพยุงราคาพืชผลทางการเกษตร ร้อยละ 7.69 เท่ากัน และเกษตรกร
                  ผู้ปลูกส้มโอทั้งหมดมีความต้องการความช่วยเหลือ ส่วนใหญ่ต้องการให้จัดหาปัจจัยการผลิตคุณภาพดี
                  และราคาต่ำกว่าท้องตลาดร้อยละ 22.41 จัดสร้างแหล่งน้ำเพื่อการเกษตรร้อยละ 18.97 และส่งเสริม

                  และแนะนำการทำปุ๋ย สารป้องกันและกำจัดศัตรูพืชใช้เองร้อยละ 17.24
                                ทัศนคติในการผลิต เกษตรกรร้อยละ 93.48 ไม่คิดเปลี่ยนแปลงการปลูกพืช โดยส่วนใหญ่
                  ให้เหตุผลว่าสภาพพื้นที่และความอุดมสมบูรณ์ของดินเหมาะสมกับพืชที่ปลูกร้อยละ 32.56 สำหรับแนวคิด

                  ในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร พบว่า ส่วนใหญ่เกษตรกรเพิ่มปริมาณปุ๋ยเคมีร้อยละ 51.47 และสำหรับ
                  แนวโน้มในการเปลี่ยนอาชีพไปสู่นอกภาคเกษตร พบว่า เกษตรกรร้อยละ 98.55 ไม่มีแนวโน้มในการเปลี่ยน
                  อาชีพไปสู่นอกภาคเกษตร โดยส่วนใหญ่ให้เหตุผลว่าเป็นอาชีพหลักของครอบครัวร้อยละ 42.65
                  และเกษตรกรร้อยละ 77.54 ไม่เคยใช้ผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมของกรมพัฒนาที่ดิน แต่มีเกษตรกรร้อยละ 22.46

                  เคยใช้ ซึ่งผลิตภัณฑ์หรือนวัตกรรมที่เคยใช้ ได้แก่ พด. 1 พด. 2 เมล็ดพันธุ์ปอเทือง และโดโลไมท  ์
                           4.1.2 ผลการดำเนินงาน
                                1) ภาวะการผลิตตามกลุ่มชุดดิน
                                   1.1) กลุ่มชุดดินที่ 4 (ข้าวนาปี–ข้าวนาปรัง และส้มโอ)

                                       ข้าวนาปี–ข้าวนาปรัง เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลผลิต 1,646.97 กิโลกรัม
                  มูลค่าผลผลิต 15,679.64 บาท ต้นทุนทั้งหมด 9,076.72 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 6,602.92 บาท
                  และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.73 และส้มโอ เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่
                  ให้ผลผลิต 841.07 กิโลกรัม มูลค่าผลผลิต 29,597.25 บาท ต้นทุนทั้งหมด 15,651.00 บาท ผลตอบแทนเหนือ

                  ต้นทุนทั้งหมด 13,946.25 บาท และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.89 เมื่อนำมา
                  เปรียบเทียบ พบว่า ในกลุ่มชุดดินที่ 4 ส้มโอได้รับผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด และมีอัตราส่วนรายได้
                  ต่อต้นทุนทั้งหมดมากกว่าข้าวนาปีตามด้วยข้าวนาปรัง (หมายเหตุ: สำหรับการเปรียบเทียบพืชไร่ และ

                  ไม้ผลไม้ยืนต้นในกลุ่มชุดดินเดียวกัน โดยปกติจะไม่สามารถเปรียบเทียบได้ เนื่องจากในช่วงปีปลูกและปีที่
                  ดูแลรักษา ไม้ผลไม้ยืนต้นจะยังไม่ให้ผลผลิต)
                                   1.2) กลุ่มชุดดินที่ 5 (ข้าวนาปี–ข้าวนาปรัง)
                                       ข้าวนาปี–ข้าวนาปรัง เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลผลิต 1,624.00 กิโลกรัม
                  มูลค่าผลผลิต 15,456.60 บาท ต้นทุนทั้งหมด 9,143.13 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 6,313.47 บาท

                  และอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.69
                                   1.3) กลุ่มชุดดินที่ 18 (ข้าวนาปี มันสำปะหลัง และอ้อยโรงงาน)
                                       ข้าวนาปี เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลผลิต 683.59 กิโลกรัม มูลค่าผลผลิต

                  6,535.12 บาท ต้นทุนทั้งหมด 4,993.32 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,541.80 บาท และอัตราส่วน
                  รายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) เท่ากับ 1.31 มันสำปะหลัง เฉลี่ยต่อเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ ให้ผลผลิต 3.16 ตัน
                  มูลค่าผลผลิต 7,836.80 บาท ต้นทุนทั้งหมด 6,434.45 บาท ผลตอบแทนเหนือต้นทุนทั้งหมด 1,402.35 บาท



                                                                             ี่
                  รายงานการประเมินคุณภาพที่ดินด้านเศรษฐกิจสำหรับพืชเศรษฐกิจที่สำคัญในระดับพื้นท จังหวัดชัยนาท   38
   41   42   43   44   45   46   47   48   49   50   51