Page 53 - การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม
P. 53

4-2






                  และหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.63 คนต่อครัวเรือน (แรงงานภาคการเกษตร

                  เฉลี่ย 2.43 คนต่อครัวเรือน และแรงงานนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 2.20 คนต่อครัวเรือน) โดยหลังเข้าร่วม

                  โครงการสมาชิกในครัวเรือนและแรงงานนอกภาคการเกษตรลดลง สาเหตุจากการย้ายถิ่นฐานที่อยู่

                  แต่แรงงานภาคการเกษตรในครัวเรือนไม่มีการเปลี่ยนแปลง

                               ด้านความพึงพอใจของเกษตรกรที่มีต่อโครงการ 5 ระดับ สรุปได้ว่า เกษตรกรมีความ
                  พึงพอใจต่อการด าเนินกิจกรรมการปรับเปลี่ยนเฉลี่ย 4.48 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก ความพึงพอใจ

                  ในคุณภาพชีวิตที่เปลี่ยนแปลงเฉลี่ย 4.39 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก และความพึงพอใจ

                  ต่อการด าเนินงานโครงการในภาพรวมเฉลี่ย 4.46 อยู่ในระดับความพึงพอใจมาก

                        4.1.2 ต้นทุนและผลตอบแทน

                             1) จากสภาพการผลิตและการกระจายผลผลิตเกษตรกรมีเนื้อที่เพาะปลูกและเนื้อที่เก็บเกี่ยว
                  11.54 ไร่ต่อครัวเรือน และมีการกระจายผลผลิตโดยแบ่งออกเป็นการบริโภคและหรือแลกเปลี่ยนร้อยละ

                  54.72 และจ าหน่ายร้อยละ 45.28
                             2) การวิเคราะห์ต้นทุนผลตอบแทนการผลิตเฉลี่ยต่อไร่ พบว่า ก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกร

                  มีมูลค่าผลผลิต 3,175.20 บาท มีต้นทุนการผลิต 2,401.55 บาท และผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 773.65 บาท

                  และหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีมูลค่าผลผลิต 7,119.55 บาท มีต้นทุนการผลิต 3,667.89 บาท และ
                  ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย 3,451.66 บาท โดยหลังเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีต้นทุนการผลิต มูลค่าผลผลิต

                  และผลตอบแทนสุทธิเพิ่มขึ้น เนื่องจากก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรท าการผลิตข้าวนาปีเพียงครั้งเดียว
                  ตลอดปีการผลิต เพราะขาดแคลนน้ าเป็นการท าการเกษตรน้ าฝนเท่านั้น อีกทั้งสภาพทางกายภาพของดิน

                  เป็นพื้นที่ที่มีความเหมาะสมเล็กน้อยและไม่เหมาะสมส าหรับการเพาะปลูก จึงปล่อยให้พื้นที่นาว่างเปล่าไม่ได้

                  ใช้ประโยชน์ที่ดินในฤดูแล้ง เมื่อเข้าร่วมโครงการฯ เกษตรกรได้รับการสนับสนุนวัสดุปรับปรุงดิน จัดสร้าง
                  แหล่งน้ าในไร่นา และการปรับรูปแปลงนาในลักษณะต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมและสามารถท าการผลิตได้

                  จึงท าให้เกษตรกรสามารถท าการผลิตได้ตลอดทั้งปี การท าเกษตรผสมผสานดังกล่าวแม้จะท าให้มีต้นทุน

                  การผลิตเพิ่มขึ้น เพราะมีการใช้ปัจจัยในการผลิตมากขึ้น แต่ก็ส่งผลให้มีรายได้และรายได้สุทธิเพิ่มมากขึ้น
                  ตามไปด้วย และผันแปรไปในทิศทางเดียวกัน จากการมีกิจกรรมการผลิตเพิ่มขึ้น ส าหรับการประเมิน

                  อัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุนทั้งหมด (B/C Ratio) ก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการฯ เท่ากับ 1.32 และ 1.94

                  ตามล าดับ เมื่อเปรียบเทียบกันแล้วหลังเข้าร่วมโครงการมีอัตราส่วนที่เพิ่มขึ้นแสดงว่ามีความคุ้มค่า
                  ในการลงทุนมากกว่า
   48   49   50   51   52   53   54   55   56   57   58