Page 54 - การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม
P. 54
4-3
ทั้งนี้ จากการเปรียบเทียบข้อมูลการผลิตต่อพื้นที่ของเกษตรกรก่อนและหลังเข้าร่วมโครงการ
(ต้นทุนการผลิตต่อไร่ มูลค่าผลผลิตต่อไร่ ผลตอบแทนสุทธิต่อไร่ และประเมินอัตราส่วนรายได้ต่อต้นทุน
ทั้งหมด) แสดงให้เห็นว่าโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม โดยการปรับเปลี่ยนการผลิต
จากเดิมนาข้าว เปลี่ยนเป็นนาข้าวร่วมกับการท าการเกษตรแบบผสมผสาน ส่งผลให้การผลิตทางการเกษตร
ของเกษตรกรมีผลิตภาพ (Productivity) มีความคุ้มค่าในการลงทุน และประสิทธิภาพการผลิตต่อพื้นที่
เพิ่มขึ้น
4.1.3 ผลการประเมินโครงการ
เกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง 106 ราย มีเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 104 ราย หรือคิดเป็น
ร้อยละ 98.11 ของจ านวนเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างและมีเกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ
10.00 จ านวน 99 ราย หรือร้อยละ 93.40 ของจ านวนเกษตรกรกลุ่มตัวอย่าง โดยมีรายได้สุทธิก่อนเข้าร่วม
โครงการ 8,926.27 บาทต่อครัวเรือน และมีรายได้สุทธิหลังเข้าร่วมโครงการ 39,824.09 บาทต่อครัวเรือน
ซึ่งเพิ่มขึ้น 30,897.82 บาทต่อครัวเรือน จึงถือว่าผลการด าเนินงานของโครงการได้ส าเร็จเกินกว่าเป้าหมาย
ของโครงการ
ตารางที่ 4-1: สรุปการประเมินผลโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ปี 2564
ผลการประเมินโครงการฯ
รายการ
คน ร้อยละ
เกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ 106.00 100.00
เกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้น 104.00 98.11
เกษตรกรที่มีรายได้สุทธิเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10.00 99.00 93.40
รายได้สุทธิก่อนเข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน) 8,926.27 -
รายได้สุทธิหลังเข้าร่วมโครงการ (บาท/ครัวเรือน) 39,824.09 -
ที่มา: จากการค านวณ (2564) กลุ่มเศรษฐกิจที่ดินทางการเกษตร กองนโยบายและแผนการใช้ที่ดิน กรมพัฒนาที่ดิน
4.2 ข้อเสนอแนะ
4.2.1 สนับสนุนวัสดุการปรับปรุงบ ารุงดิน เช่น ปุ๋ยอินทรีย์ สารปรับปรุงบ ารุงดิน เป็นต้น เพื่อเพิ่ม
อินทรียวัตถุในดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน รักษาน้ าและความชื้นในดิน
4.2.2 ส่งเสริมการท าการเกษตรแบบผสมผสาน เพื่อช่วยลดความเสี่ยงและความไม่แน่นอนของรายได้
เนื่องจากมีความหลากหลายในกิจกรรมการผลิต ทั้งการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ ท าให้มีรายได้มาจากหลาย