Page 52 - การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจโครงการปรับเปลี่ยนการผลิตในพื้นที่ไม่เหมาะสม
P. 52
บทที่ 4
สรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ
การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยนการผลิต
ในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปของเกษตรกร และเพื่อวิเคราะห์ต้นทุนและ
ผลตอบแทนส าหรับพืชเศรษฐกิจที่ปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรผสมผสานของเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ
ปรับเปลี่ยนพื้นที่ในปีงบประมาณ 2562 ซึ่งได้ท าการศึกษาข้อมูลการผลิตข้าวในพื้นที่
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และรวบรวมข้อมูลการผลิตของเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่เข้าร่วมโครงการปรับเปลี่ยน
การผลิตเป็นเกษตรผสมผสาน จ านวน 106 ราย ในพื้นที่ส านักงานพัฒนาที่ดินเขต 3 เขต 4 และเขต 5
แล้วด าเนินการประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลการผลิตก่อนเข้าร่วมโครงการซึ่งเป็นข้อมูลปีการผลิต
2561/62 และข้อมูลหลังเข้าร่วมโครงการเป็นข้อมูลปีการผลิต 2563/64 จากนั้นน ารายได้สุทธิก่อนและหลัง
เข้าร่วมโครงการมาประเมินผลลัพธ์การเข้าร่วมโครงการฯ โดยคาดหวังค่าเป้าหมายให้เกษตรกรร้อยละ
80.00 ของจ านวนตัวอย่างที่ส ารวจ มีรายได้สุทธิต่อครัวเรือนเพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 10.00 ซึ่งสรุป
ผลการศึกษาได้ดังนี้
4.1 ผลการศึกษา
4.1.1 ข้อมูลทั่วไป
เกษตรกรมีอายุเฉลี่ย 56 ปี ส่วนใหญ่จบการศึกษาระดับประถมศึกษาร้อยละ 50.94 และ
มีสถานภาพทางสังคมเป็นเกษตรกรทั่วไปร้อยละ 56.60 ของเกษตรกรทั้งหมด เกษตรกรมีพื้นที่ที่เข้าร่วม
โครงการเฉลี่ย 11.54 ไร่ต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่มีหนังสือส าคัญในที่ดินเป็นโฉนดที่ดินเฉลี่ย 7.38
ไร่ต่อครัวเรือน หรือคิดเป็นร้อยละ 63.92 ของพื้นที่ที่เข้าร่วมโครงการทั้งหมด เกษตรกรมีการกู้ยืมเงิน
ถึงร้อยละ 67.92 โดยมีการกู้ยืมเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มากที่สุด
ร้อยละ 91.67 มีอัตราดอกเบี้ยเงินกู้เฉลี่ยร้อยละ 7.27 ต่อปี
เกษตรกรมีสถานภาพทางการเงินในครัวเรือนเฉลี่ยต่อปี คือ มีค่าใช้จ่ายในครัวเรือน 90,695.16
บาทต่อปี มีดอกเบี้ยเงินกู้ที่ต้องช าระ 19,714.93 บาทต่อปี มีรายได้ในครัวเรือน 193,715.04 บาทต่อปี และ
เกษตรกรมีเงินคงเหลือเพื่อใช้จ่ายในครัวเรือน 83,304.95 บาทต่อปี ส าหรับสถานภาพการท างาน
ของครัวเรือน ก่อนเข้าร่วมโครงการเกษตรกรมีสมาชิกในครัวเรือนเฉลี่ย 4.66 คนต่อครัวเรือน (แรงงาน
ภาคการเกษตรเฉลี่ย 2.43 คนต่อครัวเรือน และแรงงานนอกภาคเกษตรเฉลี่ย 2.23 คนต่อครัวเรือน)